การพัฒนาทางการเกษตรตามพระราชดำริ มงคลวิเสสกถา หน้า 215
หน้าที่ 215 / 390

สรุปเนื้อหา

สมเด็จพระญาณสังวรได้ทรงศึกษาวิธีการพัฒนาเกษตรกรรมและจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาใน 5 ภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและปรับปรุงความเป็นอยู่ของราษฎร โดยมุ่งเน้นการศึกษาปัญหาทางการเกษตร การวิจัย และสร้างแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น จากผลลัพธ์ที่ได้รับจะนำไปสู่การแสดงตัวอย่างและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำมาหากิน และยังมีลักษณะคล้ายพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้บริการแก่นักเรียนและผู้ที่สนใจเพื่อชมงานสาธิตการพัฒนาอีกด้วย เมื่อสำเร็จจะแบ่งปันแนวทางการพัฒนาสู่ภูมิภาคอื่นๆ เพื่อกระจายผลที่ได้อย่างกว้างขวาง

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาทางการเกษตร
-โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนา
-พระราชดำริ
-ความยากจนของเกษตรกร
-การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ๒๑๙ ความยากจนและล้าหลัง ของเกษตรกรเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นได้ทรง ศึกษาข้อพัฒนาอย่างครบวงจร ที่มีความสำคัญต่อปัจจัยการผลิต ได้แก่ น้ำ ที่ดิน ทำมาหากิน ความรู้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ในการนี้ได้พระราชทาน พระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นใน 5 ภูมิภาคของประเทศ ทุน คือ และการหาตลาด ๑. ห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๒. ภูพาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ๓. เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๔. อ่าวคุ้งกระเบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๕. ห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 5. พิกุลทอง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส วัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่าง ก็เพื่อศึกษา ໆ เหล่านี้ ทดลองวิจัยปัญหาเกษตรกรรมในท้องที่ ทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ ตลอดจนแสวงหาแนวทาง กับวิธีพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของ ราษฎร์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ราษฎรสามารถรับไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง เมื่อสามารถ ค้นพบหรือค้นคิด วิธีแก้ไขปัญหาส่วนใด วิธีการหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ แล้ว ก็จัดการ “สาธิต” ภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาสำหรับปัญหาส่วนที่ยังขบไม่ได้ ก็ดำเนินการศึกษา ต่อไป เนื่องจากปัญหาแต่ละข้อมีความยากง่ายไม่เท่ากัน ในที่สุดประชาชนในท้องที่ ตลอดจนที่มาจากท้องถิ่นใกล้เคียงก็สามารถเดินทางมาศึกษาดู งานวิทยาการแผนใหม่จากงานสาธิตพัฒนาเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวิธีการจะทำมาหากินให้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถเข้าฝึกอบรมทั้งในด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน และด้านศิลปาชีพพิเศษ กิจกรรมทั้งหมด ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่งจะมีลักษณะคล้าย พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่มีชีวิต ซึ่งนักเรียนศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป สามารถเดินทางไปชมใน แง่ทัศนศึกษานอกสถานที่ ตลอดจนพักผ่อนหย่อนใจไปในโอกาสเดียวกัน ภารกิจหลักอีกประการ หนึ่ง ก็คือการกระจายผลที่ได้จากการศึกษาในรูปของวิธีการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่นอื่น ภูมิภาคเดียวกัน จนกระทั่งขยายแผ่กระจายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ หากพบว่าพื้นที่ใดในแต่ละ ภาค ประสบปัญหามากและ ๆ ใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More