ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ขณาตีตา หิ โสจนติ
นิรยมุห์ สมปุปิตา ฯ
๒๕๐
เพราะชนทั้งหลาย อันขณะล่วงไปแล้ว ย่อมโศกเศร้ารันทด ไปเต็มแน่นอยู่ในนิรยาบายดังนี้
บุคคลผู้เป็นกาลัญญู รู้จักกาลสมัย ทำธุระให้สบเวลาได้ชื่อว่าปฏิรูปการีผู้ทำสมควร
ย่อมจะได้บรรลุความเจริญ ดังวิบุลผลตั้งแต่โภคสมบัติ พระคันถรจนาจารย์ จะสำแดงความข้อนี้ให้
ชัด จึงชักเรื่องจุลลกเศรษฐีมากล่าว ในคัมภีร์อรรถกถาชาดกยกย่องสรรเสริญความหมั่น ของจูฬ
กเตวาสิก ผู้รับใช้ของเศรษฐี ที่รู้จักประกอบพาณิชกรรม ให้ถูกคราวนิยม สั่งสมโภคทรัพย์เป็นอัน
มากขึ้นได้ในไม่ช้า ต่อมาก็ได้รับตำแหน่ง เป็นเศรษฐีใหญ่ ปรากฏในประชุมชน ให้สมกับคาถา
นิพนธ์ว่า
อปปเกน เมธาวี
สมุฏฐาเปติ อตฺตานํ
ปากเฏน วิจกขโณ
อณ์ อคคิ้ว สนธม
บุคคลผู้มีปรีชาฉลาดคาดเห็นเหตุผลประจักษ์ ย่อมยังตนให้ตั้งขึ้นได้ในยศศักดิ์ศฤงคารด้วยทรัพย์
ที่เป็นต้นทุนแม้มีประมาณน้อย ดุจชนผู้ก่อไฟนิดเดียว ให้เป็นกองโตขึ้นได้ ฉะนั้น แม้สมเด็จพระ
บรมโลกนาถ ก็ได้ตรัสประกาศสรรเสริญบุรุษเห็นปานนั้น ด้วยพระพุทธพจนประพันธ์ว่า
ปฏิรูปการี ธุรวา
។
อุฏฺฐาตา วินทเต ธน
ชนผู้มีกิจธุระ ตั้งอุสาหะ ทำให้สมควร คือให้ต้องตามกาลเทศะโดยปกติตนย่อมจะได้ทรัพย์มา
เป็นผลแห่งความประกอบชอบ ดังนี้
ข้อความที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะหมายบุคคลเป็นเจ้าการ ถึงอย่างนั้นก็เป็นสาธารณะ
ทั่วถึงแก่ชนผู้เนื่องกันเป็นหมู่เหล่า เช่นจำพวกที่รวมกันเข้าตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น แน่นหนา กล่าว
โดยอุปจารโวหารว่าประเทศหรือชาติ ใหญ่หรือน้อยก็ตามที ต่างคนตั้งอยู่ในสามัคคีพร้อมเพรียง
เป็นใจเดียวกัน มีความหมั่นประกอบกิจธุระให้ต้องตามกาลเทศะ ไม่ปล่อยปละละเลยให้อากูล
เป็นปฏิรูปการแล้ว ประเทศหรือชาตินั้น ก็มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ อันจะเป็นกำลังในที่จะ
ๆ
จัดการป้องกันทำนุบำรุงให้ยิ่งขึ้นจนเต็มที่ แต่นั้น เกียรติยศอำนาจสง่าราศีก็จะเกิดมีขึ้นตามกัน
โดยลำดับ เป็นที่นับถือแลเกรงขามของประเทศหรือชาติอื่น เป็นอันตั้งตนได้ แลสามารถ
รักษาตนด้วยตนเอง ความเจริญสมบูรณ์เกิดมีแก่หมู่ชน เป็นผลแห่งความประกอบชอบนั้น จึง
สันนิษฐานเห็น เช่นกาสิกกรัฐในทีฆาวุชาดก ซึ่งได้ยกเป็นนิทัศนะไว้แล้วในหนหลัง