ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
ประชาราษฎร์ต้องอยู่ด้วยความหวาดเสียว วางใจในชีวิตร่างกายแลทรัพย์สมบัติลงมิได้
๓๑๒
เพราะ
เหตุนั้น เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงพระปรารภจะบูชามหายัญพราหมณ์ปุโรหิต จึงกราบทูลขอ
เพื่อทรงระงับโจรผู้ร้ายเสี้ยนหนามแห่งแผ่นดินให้ราบคาบ ยังพระราชอาณาเขตให้เกษมสงบเป็น
เบื้องต้นก่อน แลกราบทูลแนะอุบายถวาย พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงทำตาม ระงับเสี้ยนหนาม
แผ่นดินราบคาบ ยังประชาราษฎร์ให้อยู่ด้วยความสุขเกษมที่แสดงว่ายังบุตรให้ฟ้อนอยู่ที่อก อยู่
ราวกับไม่ต้องลงลิ่มประตูเรือน ดังชักมาถวายวิสัชนาแล้วในอธิการแห่งสหกรณ์ แต่นั้นจึงทรงบูชา
มหายัญสำด้วยดี, ประชาราษฎร์ยกพระเจ้ามหาสมมติราชผู้เป็นเจ้าปกครอง แลยอมแบ่งผลแห่ง
การงานของตนถวายเป็นราชพลี
ก็เพื่อว่าจะได้ทรงรักษาความสงบแห่งพวกตนที่ไม่อาจทำตาม
ลำพังตนเองได้ เนื่องจากประเพณีนี้ ท่านผู้ครองอาณาจักรตั้งกฎหมายไว้ เพื่อลงโทษผู้ทำผิดแล
ระงับวิวาทเรื่องทรัพย์ กับรักษาสิทธิ์แลอิสรภาพของทวยประชา ตั้งศาลไว้พิจารณาชี้ขาด จัด
อารักขาเพื่อป้องกันอุบาทว์ภยันตรายแก่โจรผู้ร้าย แลจัดการอย่างอื่นอีก ก็เพื่อรักษาความสงบใน
ภายใน จัดเสนาสะสมศัสตรวุธยุทธภัณฑ์เสบียงพาหนะแลอื่น ๆ ก็ดี ผูกไมตรีมีสัญญาต่อกันกับ
ต่างอาณาจักรก็ดี ก็เพื่อรักษาความสงบภายนอก, สันติเป็นผลต้นเค้าที่มุ่งหมายแห่งรัฐประศาสน์
สำเร็จด้วยอำนาจกำลังทรัพย์อันพึงนับมิได้ ทั้งด้วยสติปัญญาอุตสาหะสามารถแลสหกรณ์ เป็น
กิจอันจะพึงทำก่อนอย่างอื่นทั้งนั้น
ๆ
ในทางคดีธรรม สันติเป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธศาสนา มีพุทธภาษิตวางไว้เป็นหลักว่า
สนฺติ สุสิกเขยย จึงสำเหนียกด้วยดีถึงความสงบนั้นแล อีกข้อหนึ่งว่า สนฺติมคฺคเมว พรูหย
จงพูนทางแห่งความสงบนั่นเที่ยว, อันผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาจะประกอบกิจก็ดี จะประพฤติกิริยา
ก็ดี จะทำใจก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งจึงมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง สมเด็จพระบรมศาสดาทรงบัญญัติ
สิกขาบท ก็เพื่อระงับอาสวะโทษอันเกิดขึ้นแล้วแลเพื่อระวังอาสวะอันพึงเกิดขึ้นอีก โดยใจความเพื่อ
รักษาความสงบ. ในท้ายพระปาฏิโมกข์ อันสงฆ์สวดทุกกึ่งเดือน สำแดงความข้อนี้ว่า ตตฺถ
สพเพเหว สมคเคห์ สมุโมทมาเนหิ อวิวทมาเนหิ สิกขิตพพ์ แปลว่า อันภิกษุทั้งหลาย
ทั้งมวลแล จึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชอบพอกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในสัตถุพจน์อันเป็นหลักสูตร
นั้น ดังนี้ ฝ่ายคฤหัสถ์ทรงบัญญัติศีลมีองค์ ๕ คือเว้น จากผลาญชีวิต เว้นจากทำโจรกรรม
เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากการกล่าวเท็จ เว้นจากดื่มน้ำเมา ก็เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่ง
มหาชน, การบำเพ็ญจิตตสิกขา ศึกษาทางจิต ได้แก่จำเพ็ญภาวนา ก็เพื่อรักษาความ