การพัฒนาจิตและการใช้งานอย่างชาญฉลาด มงคลวิเสสกถา หน้า 60
หน้าที่ 60 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจและการใช้ทรัพย์สินอย่างชาญฉลาด โดยมีการยกตัวอย่างจากประวัติศาสตร์และคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่อง การตั้งตัวในยศศักดิ์จากการทำงานหนักและการประกอบกิจธุระอย่างมีระเบียบ ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม และการทำให้เกิดความเจริญมั่งคั่ง ซึ่งจะสามารถรักษาความมั่นคงของชาติได้ มีแง่มุมที่สะท้อนถึงความสำคัญของเวลาและการไม่ปล่อยเวลาให้เสียไป.

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาจิตใจ
-ความสำคัญของเวลา
-การใช้ทรัพย์สินอย่างชาญฉลาด
-ความสามัคคีในสังคม
-การทำงานหนักและความสำเร็จ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๖๐ ให้ถูกคราวนิยม สั่งสมโภคทรัพย์เป็นอันมากขึ้นได้ในไม่ช้า ต่อมาก็ได้รับตำแหน่งเป็นเศรษฐีใหญ่ ให้สมคาถานิพนธ์ว่า อปุปเกนปิ เมธาว ปากเฏน วิจกฺขโณ อณ์ อคคิ้ว สนธ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ บุคคลผู้มีปัญญาคาดเห็นเหตุผลประจักษ์ ย่อมยังตนให้ตั้งขึ้นได้ ในยศศักดิ์ศฤงคารด้วยทรัพย์ที่ เป็นต้นทุนแม้มีประมาณน้อย ดุจชนผู้ก่อนไฟนิดเดียวให้เป็นกองโตขึ้นได้ฉะนั้น แม้สมเด็จพระผู้ มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงสรรเสริญบุรุษเห็นปานนั้น ด้วยพุทธพจนประพันธ์ (๑) ว่า การ ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินทเต ธน ชนผู้มีกิจธุระ ตั้งอุตสาหะทำให้สมควร คือให้ต้องตามกาลเทศะโดยปกติตน ย่อมจะได้ทรัพย์ มาเป็นผลแห่งความประกอบชอบ ดังนี้ ข้อความที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะหมายบุคคลเป็นเจ้า ถึงอย่างนั้นก็เป็นสาธารณทั่วถึงแก่ชนผู้เนื่องกันเป็นหมู่เหล่าเช่นจำพวกที่เข้ากันตั้งอยู่เป็น ปึกแผ่นแน่นหนา กล่าวโดยอุปจารโวหารว่า ประเทศหรือชาติ ใหญ่หรือน้อยก็ตามที ต่างคน ตั้งอยู่ในสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นใจเดียวกัน มีความหมั่นประกอบกิจธุระให้ต้องตามกาลเทศะ ไม่ ปล่อยให้อากูล เป็นปฏิรูปการแล้วประเทศหรือชาตินั้น ก็มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ อันจะ เป็นกำลังในที่จะจัดการป้องกันทำนุบำรุงให้ยิ่งขึ้น แต่นั้นเกียรติยศอำนาจสง่าราศีก็จะเกิดมีขึ้น ตามกันโดยลำดับเป็นที่นับถือและเกรงขามของประเทศหรือชาติอื่น ๆ เป็นที่อันตั้งตนได้ สามารถรักษาตนด้วยตนเอง ความเจริญสมบูรณ์เกิดมีแก่หมู่ เป็นผลแห่งการประกอบชอบนั้น พึงสันนิษฐานเห็นเช่นกาสิกรัฐในทีฆาวุชาดก ซึ่งได้ยกเป็นนิทัสสนะไว้ในหนหลัง, กาลัญญุตามี ย่อมสำหรับกับกาลิกกิจคือ ธุระอันจะพึงทำเป็น อรรถาธิบายดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามา คราวเป็นสมัย. อีกบรรยายหนึ่ง ความเป็นผู้รู้จักใช้เวลาในวัน ๆ และ ก็ชื่อว่ากาลัญญุตา เป็นคุณที่พึง ปรารถนาในนิพัทธกิจ คือธุระอันจะพึงทำเนื่องไป, ความปล่อยให้เวลาเสียไปเพียงใด เป็นความ เสียประโยชน์เพียงนั้น สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า จึงประทานพระบรมพุทโธวาท แก่ภิกษุ ทั้งหลายไว้เป็นเครื่องเตือนจิต ดังนี้ว่า กถมภูตสฺส เม รตฺตินทิวา วีติปตนตีติ ปพฺพชิเตน อภิณห์ ปจจเวกขิตพพ์ (๒) อันผู้เป็นบรรพชิต ควรพิจารณา (๑) สํ. ส. ๑๒/๓๑๖. (๒) อง. ทสก. ๒๔/๔๒.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More