ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(เจริญ ญาณวรเถร)
๒๙๐
อตฺถจริยาย ด้วยประพฤติประโยชน์แก่กันในคราวที่ต้องการ ๑ สมานตฺตตาย ด้วยความเป็นผู้
มีตนสม่ำเสมอ ๑ อวิสวาทนตาย ด้วยความไม่แกล้งกล่าวให้ผิดจากจริง ๑ สมานัตตตา
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในมิตรธรรมจึงให้เป็นไปในบุคคลผู้เป็นมิตร ตามสมควรฉะนี้
อีกประการหนึ่ง ชนผู้นับเนื่องในหมู่เดียวกัน ประพฤติตามฉันที่เป็นพวกเดียวกัน ไม่คิด
เอารัดเอาเปรียบ ต่างรักษาประโยชน์ของกัน ดังนี้ ชื่อว่า ประพฤติตนสม่ำเสมอในตัวปริยาปันน
ธรรม คือธรรมของชนผู้เนื่องในหมู่นั้น ๆ ธรรมดาชนผู้นับเนื่องในหมู่ เมื่อคิดรักษาประโยชน์
ตน ก็ต้องรักษาประโยชน์ผู้อื่นด้วยเหมือนกัน ประโยชน์ของตนจึงจะมั่งคงถาวร ถ้าเห็นแต่ได้แล
ตัดทอนประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ของตนก็จะไม่ยั่งยืนอยู่ได้ เหมือนปืน ๓ กระบอกที่ตั้งยัน
กันอยู่ มีผู้ชักออกเสียแม้กระบอกหนึ่งก็มีกำลังไม่พอที่จะทานกันไว้ได้ ก็ต่างจะต้องล้มฉะนั้นแม้
พระพุทธพจนประพันธ์ในปกิณณกวรรคแห่งพระธรรมบท ก็ได้แสดงความนี้โดยบรรยายว่า
โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
ปรทุกฺขุปธาเนน
บุคคลผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกข์ให้แก่ผู้อื่น
เวรสสคุคส์สฏฺโฐ
เวรา โส น ปริมุจฺจติ ។
บุคคลนั้นระคนอยู่ด้วยสังสัคคะคือเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวรได้ ดังนี้ เหตุดังนั้น สมเด็จพระบรม
โลกนาถเจ้า จึงตรัสสอนคนที่เป็นหมู่เหล่าให้ประพฤติถ้อยทีที่รักษาประโยชน์ของกันและกัน ข้อนี้
ที่โปรดประทานแก่ภิกษุสงฆ์ให้ตั้งกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ประกอบด้ยจิตเมตตาในกันและกัน เฉลี่ยลาภที่หาได้สู่กันบริโภค มีศีลเสมอกัน มี
ทิฏฐิเสมอกัน ให้เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นใหญ่ในสงฆ์แลตั้งใจปรารถนาเพื่อนพรหมจารีที่ยังมี
ได้มา ให้มาสู่อาวาสที่มาแล้ว ให้อยู่เป็นสุขเป็นอาทิ. และพระบรมพุทโธวาทที่โปรดประทานแก่
คฤหัสถชนในข้อนั้น จึงสันนิษฐานตามความในอปริหานิยธรรมสูตร ที่ตรัสสอนพวกเจ้าลิจฉวี
พึงสันนิษฐานตามพระบรมพุทโธวาท
บางข้ออนุโลมแก่การปกครองอาณาจักรวัชชี ซึ่งมีประเพณีเป็นคณานุศาสน์คือปกครองด้วยความ
เป็นหมู่ เจ้าลิงฉวีทั้งหลายพร้อมกันเป็นหมู่คณะผู้บัญชากิจการบ้านเมืองทั่วไปไม่มีใครเป็นอิสระ
เฉพาะตน วินิจฉัยกรณียกิจไปตามสมควร ให้พวกวัชชีหมั่นประชุมกัน เมื่อถึงคราวประชุมกันก็
ให้