สามะและอำนาจศรอาบยาพิษ มงคลวิเสสกถา หน้า 186
หน้าที่ 186 / 390

สรุปเนื้อหา

ในเรื่องนี้บอกเล่าถึงสุวรรณสามที่ถูกพิษศรอาบยาพิษจนสลบไสล ด้วยความปรานีของพระราชาแห่งกรุงพาราณสี ที่ทรงมีน้ำใจรับปากอุปการะมารดาบิดาของเขา และด้วยอำนาจแห่งความสัตย์จริงจากมารดาบิดาของสุวรรณสาม ผู้มีจิตใจดีจึงทำให้เขาฟื้นขึ้นมาและกลับคืนสู่สุขภาพที่ดีอีกครั้ง เรื่องนี้จึงส่งเสริมให้เห็นถึงอำนาจจิตใจของคนสองฝ่าย ระหว่างการกระทำดีและไม่ดี

หัวข้อประเด็น

-อำนาจของศรอาบยาพิษ
-การฟื้นขึ้นจากการสลบ
-จิตใจที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์
-การแสดงออกของความรักและการกตัญญู
-การเปรียบเทียบระหว่างธรรมและอธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สามสลบไสล ด้วยอำนาจของศรอาบยาพิษนั้น ก็ได้กล่าวเรียกหาบุคคลผู้ยิงด้วยวาจาอัน อ่อนหวาน ไม่แสดงความโกรธ พระราชาพาราณสีได้ทรงฟังเรียกเช่นนั้น ก็มีพระหฤทัยอ่อนและ ได้เสด็จเข้าไปหาสุวรรณสาม ซึ่งนอนกระวนกระวายคร่ำครวญอยู่ว่า ต่อไปนี้จะได้ใครเป็นผู้เลี้ยง มารดาบิดา ก็ได้ทรงถาม และครั้นทรงทราบแล้ว ก็ทรงรันทดเสียพระหฤทัยในการที่ได้ทำไป และก็รับทรงเป็นผู้รับออุปการะมารดาบิดาของสุวรรณสาม สุรรณสามก็สลบไสลไปในขณะนั้น ด้วยอำนาจของศรอาบยาพิษ พระราชาแห่งพาราณสีก็ได้เสด็จไปอาศรมซึ่งเป็นที่อยู่ของมารดา เลี้ยงมาราดบิดา บิดา และก็ได้ทรงทำการปฏิบัติ ฝ่ายมารดาบิดาของสุวรรณสามสังเกตเห็นความผิดปรกติในกิริยา นั้นเป็นต้น กำหนดว่าคงจะไม่ใช่สุวรรณสาม จึงได้ถามขึ้น พระราชาแห่งพาราณสีก็ทรงเล่าให้ ทราบตามจริงทั้งสองท่านนั้น ครั้งได้สดับ ก็ขอให้พระราชาแห่งกรุงพาราณสีช่วยนำไปยังสุวรรณ สาม ครั้งเมื่อไปถึงนั้นที่นั้นแล้ว ทั้งสองท่านนั้นก็มีความโศกรันทดและก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นว่า “สามะนี้เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติดังพรหม กล่าวแต่คำสัตย์จริง ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล รักสัตว์มีชีวิต ด้วยความสัตย์นี้ขอให้พิษศรในกายของสามะ เหือดหายเถิด” และก็มีแสดงว่านางพสุนธรเทวธิดาซึ่งสถิตอยู่ที่เขาคันธมาทน์ ซึ่งเคยเป็นมารดา ของสุวรรณสามมาในภพอดีตก็ได้มาทำสัจจกิริยา เช่นเดียวกันว่า ไม่มีใครอื่น ซึ่งจะเป็นที่รักของ ตนยิ่งไปกว่าสุวรรณสาม ด้วยอำนาจสัจจกิริยานั้น สุวรรณสามก็ฟื้นขึ้นมารดาบิดาก็หายจาก ความตาบอด ในขณะเดียวกันกับอรุณขึ้น เพราะฉะนั้น บุคคลทั้งหมดนั้นก็ได้มีความสวัสดี พระราชาแห่งกรุงพาราณสีก็ได้กลับทรงตั้งอยู่ในธรรมของผู้ปกครองประชาชน และ ตามเรื่องในชาดกนี้ แม้จะเล่าถึงเหตุการณ์ที่บังเกิดเหมือนเป็นอภินิหาร คือผลที่บังเกิด ขึ้นด้วยอำนาจของสัจจกิริยา แต่สารัตถะ คือ ความสำคัญของเรื่องก็มุ่งหมายแสดงถึงอำนาจ จิตใจ อำนาจจิตใจของบุคคลของบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เมื่อกล่าวโดยย่อแล้วก็มีเป็นสองฝ่าย คืออำนาจจิตใจอันประกอบด้วยธรรมอย่างหนึ่ง อำนาจจิตใจอันประกอบด้วยอธรรมอีกอย่างหนึ่ง อำนาจจิตใจประการแรกก็ได้แก่ที่ประกอบด้วยเมตตาและความกตัญญูกตเวทีเป็นต้น กล่าว โดยเฉพาะบุคคลผู้ที่เล่าในเรื่องเป็นผู้อบรมเมตตา มีจิตใจประกอบด้วยเมตตาธรรม ส่วนอีกฝ่าย หนึ่งนั้น คือที่ประกอบด้วยอธรรมก็ได้แก่โทสะ วิหิงสาหรือพยาบาทซึ่งเป็นฝ่ายกิเลส และบุคคล เมื่อมีโทสะวิหิงสาหรือพยาบาทก็ย่อมประกอบการเบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน จิตทั้งสอง เมื่ออำนาจ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More