ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
๓๗๐
ด้วยอาการต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่อำนาจย่อมไม่สามารถจะผูกพันพระองค์ถูกทรงตัดเสียว่า ยสฺส
ชิต นาวชีวติ เป็นต้นมีความว่า ความชำนะของท่านผู้ใดย่อมไม่กลับแพ้ ใครในโลกย่อมเอาชะ
นะท่านมิได้ ท่านทั้งหลายจักทำท่านพุทธะผู้นั้น ผู้มีโคจร (คือธรรมเป็นอารมณ์) หาที่สุดมิได้
ผู้หารอยมิได้ ด้วยรอยอะไร ตัณหาดุจตาข่าย ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ของท่านผู้ใด เพื่อนำไป
ข้างไหน ๆ ท่านทั้งหลาย จักนำท่านพุทธะผู้นั้น ผู้มีโคจรเป็นอนันต์ ผู้หารอยมิได้ ด้วยรอยอะไร
เรื่องนี้ชะรอยจะแต่งเปรียบใครในครั้งนั้น เช่นมาคัณฑิยโคตร ผู้ปรารถนาจะได้สมเด็จพระธรรม
สวามิสรมาเกี่ยวดองทรงถูกมารคุกคามก็มี ดังมีเรื่องเล่าถึงมารผจญเมื่อคราวจะตรัสรู้ แลใน
คราวต่อมาในที่ ๒ สถาน นี้ พระองค์ทรงแสดงพระอาการคงที่ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงตกพระหฤทัย
กลัวมารจึงไม่อาจคล้องพระองค์ให้ติดบ่าง ในทศพิธราชธรรม สำหรับมุรธาภิษกตราชท่านจัดตาทิ
ตาความเป็นผู้คงที่เข้าไว้ด้วย โดยโวหารว่า อวิโรธน์ ความไม่แสดงวิการในพระพุทธศาสนายก
ข้อนี้เป็นธรรมอย่างสูง กล่าวเป็นคุณบทแห่งพระอรหันต์ เช่นในคาถาประพันธ์ทั้งหลาย ว่า
ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินทขีลูปโม ตาที่ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทโม
สสารา น ภวนฺติ ตาทิโน ฯ
พระอริยะใดเสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่แสดงวิการ เป็นผู้คงที่ เปรียบด้วยเสาเขื่อนมีพรตอันดี
บริสุทธิ์ดุจดวงน้ำปราศจากผมสงสาร (คือการเวียนเกิด) ย่อมไม่มีแก่พระอริยะนั้นผู้คงที่
สันต์ ตสฺส มน โหติ
สมมปัญญา วิมุตฺตสฺส
สนตา วาจา จ กมุม จ
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ฯ
ใจวาจาแลกายกรรมของท่านผู้รู้ชอบ หลุดพ้นกิเลสแล้ว ผู้สงบคงที่ ย่อมสงบไปตามกัน แม้กัลป์
กัลยาณชน มาประพฤติตนเป็นคนคงที่ได้เพียงไรก็ยังดี จักบรรลุวิบุลผลดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพร้อม ด้วยรัฐบาลทรงรักษาพระอาการสม่ำเสมอ
คงที่สนับสนุนพระธิติอันชนอื่นผู้มุ่งหมายอย่างไร ๆ ไม่ได้ช่องเพื่อทำให้