มหากษัตริย์และพระราชธรรม มงคลวิเสสกถา หน้า 72
หน้าที่ 72 / 390

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของมหากษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองที่มีพระบารมีในการดูแลและพัฒนาราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ได้รับการยกย่องว่ามีวิริยภาพและพระราชธรรมที่เป็นหลักสำคัญในการบริหารจัดการประเทศ ตลอดจนการดูแลประชาชนให้อยู่ในความสงบและเจริญรุ่งเรือง การทรงปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประชาชน การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่มหากษัตริย์ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และทรงพยายามเพื่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างสูงสุด บทความนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และการสร้างสรรค์ก้าวหน้าของรัฐในทุกด้าน ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ที่ตั้งเป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของมหากษัตริย์
-พระราชธรรม
-การปกครอง
-การพัฒนาประเทศ
-ความรับผิดชอบของผู้นำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มหากษัตริย์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) ๗๒ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชปกครองปฐพีมณฑลมี จะมีพระเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ประเทศราชอยู่ใต้พระบารมีก็ต้องอาศัยพระวิริยภาพ หมั่นทรงบำเพ็ญจักรพรรดิวัตรทำนุบำรุง พระราชอาณาจักรและประชาชนพลพาหนะให้พร้อมพรั่ง ตั้งพระองค์อยู่ในธรรมสุจริต, ความ เพียรเป็นองคสมบัติของอุตมบุรุษฉะนี้ ท่านจึงจัดเป็นพระบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าประการ หนึ่ง โดยโวหารว่า วิริยบารมี ในพระบารมี ๑๐ ทัส และจัดเป็นราชธรรมของพระราชมหา กษัตริย์ประการหนึ่ง โดยโวหารว่า ตโป ในทศพิธราชธรรมพระพุทธเจ้าได้ตรัสแล้ว ก็ยังทรงพระ อุตสาหะเสด็จเที่ยวจาริกแสดงธรรมโปรดเวไนยนิกรเป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ คือประพฤติเกื้อกูลแก่ ผู้อื่น เป็นพุทธกิจส่วนสัตตูปการสัมปทา พระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว ก็ประกอบพระ วิริยภาพในราชกรณียะ เพื่อประโยชน์ดุจเดียวกัน สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าเสด็จเถลิงราไซศวรรยาธิปัตย์ ในเวลาเริ่มแปรความ เป็นไปของประเทศในบุรพทิศาภาคนี้ ได้ทรงตั้งพระราชอุตสาหะในที่จะจัดราชการ เพื่อป้องกัน รักษาทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้เจริญทันสมัย อุบัติเหตุใด ๆ อันจะนำให้เกิดอนัตถะไม่เป็น ผลอันดีแก่แผ่นดิน ที่ยังไม่เกิด ก็ทรงจัดการระวังดังทำนุบำรุงพลนิกายไว้ เพื่อป้องกันจลาจล ภายใน และปัจจามิตรภายนอก ตลอดลงมาถึงระวังโรคภัยไข้เจ็บและอัคคีภัยอันจะเกิดมีแก่ ประชาชนเป็นที่สุด เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ทรงเขม้นขะมักเพื่อจะระงับให้ราบคาบ ดุจได้ทรงปราบ จลาจลในมณฑลพายัพและอีสาน ขจัดโจรภายนอกภายใน ข้อเสียหายที่มีอยู่แล้ว ก็ตั้งพระราช หฤททัยจะเลิกถอน เช่นเลิกทาส ผ่อนเลิกบ่อนเบี้ย เลิกวิธีใช้บีบคั้นในทางพิจารณาความอาญา ตลอดถึงเลิกขนบธรรมเนียมอันล่วงเวลา และขัดแก่ความเป็นไปของประเทศอย่างอื่น ๆ อีกเป็น อันมากการณ์ใด ๆ เป็นทางแห่งความเจริญ แม้จะสำเร็จยากสักปานไรก็ไม่ทรงทอดพระราชธุระ เมื่อเป็นกาละก็จัดขึ้น เช่นทรงขวขวายเพื่อจะรวมความปกครองในหน้าที่ตุลาการให้พ้นจากความ เป็นแผนก จัดระเบียบส่วนธุรการ บำรุงศึกษากสิกรรมพาณิชกรรม สร้างทางรถไฟสายโทรเลข อื่น ๆ เมื่อได้จัดขึ้นแล้ว ก็มีพระราชประสงค์จะรักษาให้ยืนยงคงที่ทรงสอดส่องตรวจราชกรณียะ กิจอยู่เป็นนิตย์. สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระอุตสาหะในอันบำเพ็ญราชธรรมอันอ้างว้าง ยากที่จะลุที่สุด ก็ดุจเดียวกันกับพระมหาชนก พยายามว่ายอยู่ในมหาสาครไม่แลเห็นฝั่ง ถึงดังนั้น ก็ไม่ท้อแท้ นางมณีเมขลามีกรุณามาช่วย ก็ได้แก่ความสำเร็จ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More