ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช(กิตฺติโสภณมหาเถระ)
๑๑๒
บกพร่องช่องใหญ่ ๆ ย่อมจะเกิดขึ้นมากมาย ดุจคนอยู่ในที่มือ ณ ราตรี ย่อมแลเห็นรูปทั้งหลาย
เขื่องไปกว่าจริงฉะนั้น ฯ อธิบายว่า เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่ง เกิดปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าไม่มีปัญญา
พอจะทาน เขาย่อมอนุมานเห็นเป็นข้อติดขัดใหญ่โตเกินวิสัย ฯ ผู้สำคัญในกิจการอันมิใช่แก่นสาร
ว่าเป็นแก่นสาร ย่อมไม่ได้ปัญญาญาณเป็นเครื่องรู้ ย่อมจะจมอยู่ในอันตราย ประดุจมฤคทราย
อันตกซอกเขาฉะนั้น ฯ แม้หากนรชนเป็นคนชั้นต่ำ แต่เป็นผู้ขยัน มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยศีล
มรรยาท ย่อมโอภาสเพียงดังกองเพลิงในราตรี ฯ พระองค์จงทรงถือความข้อนี้เป็นอุทาหรณ์
ฝึกสอนพระราชบุตรในวิทยาคนมีปรีชาพึงเจริญขึ้นได้ ดุจพืชหว่าไว้ในนาย่อมงอกงามเพราะน้ำฝน
ฉะนั้น ฯ
รับพระราชทานประมวลความแห่งคาถาทั้งหลายนั้น โดยใจความว่า โบราณบัณฑิตได้
ยกขัตติยสมบัติ 5 ประการ ขึ้นกราบทูลถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อได้ทรงพิจารณาทรงรักษา
และทรงปฏิบัติ ก็ย่อมจะเป็นไปเพื่อความสุขสิริสวัสดิ์แก่พสกนิกรผู้อยู่ได้พระราชอาณา ขัตติยะ
สมบัติ 5 ประการ นั้น คือ
Q.
อาโรคยสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยความปราศจากโรค คุณข้อนี้ย่อมเป็นสมบัติอัน
สำคัญของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงพระสำราญหาพระโรคมิได้ ย่อมสามารถยังราชกิจให้ลุล่วงไม่
ติดขัด ฉะนั้น ความทรงพระสำราญจึงจัดเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ประการ ๑ ។
๒. อารักขสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยความปกครองพระราชอาณาจักรโดยธรรมนี้ย่อม
เป็นสมบัติอันสำคัญ เพราประชาชนจะอยู่เกษมสุขหรือมีทุกข์
พระมหากษัตริย์ทรงตั้งอยู่ในธรรม หรือทรงเหินห่างจากธรรม
มีภัย ก็เพราะอาศัย
เป็นเหตุมีกำลังกล้าพระ
ราชอาณาจักรจะวัฒนาหรือทรุดโทรมก็เพราะพระราชจรรยาของพระมหากษัตริย์ ฉะนั้น
ปกครองของพระราชอาณาจักรโดยธรรมจึงจัดเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ประการ ๑
๓.
។
ความ
ปริวารสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยบริวาร คือผู้ร่วมการงานในราชกิจ เหล่าเสนา
อำมาตย์ราชเสวกย่อมเป็นกำลังในราชการ ถ้าเป็นคนตรงในหน้าที่ มีความเที่ยงธรรม มีเมตตา มี
ความกล้า และมีปรีชา เป็นคุณสมบัติ ซื่อสัตย์ จงรักภักดีในพระมหากษัตริย์ของตน แม้ชีวิตก็ยอม
พลีถวายได้ เช่นนี้ย่อมเจริญราชการเพิ่มพระราชอภินิหารให้ปกแผ่ร่มเย็นทั่วรัฐสีมา เหตุดังนั้น
ความถึงพร้อมด้วยบริวาร จึงจัดสมบัติของพระมหากษัตริย์ประการ ๑ ។