สี่สังคหวัตถุและการพัฒนารัฐสมบัติ มงคลวิเสสกถา หน้า 250
หน้าที่ 250 / 390

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงสี่สังคหวัตถุเป็นแนวทางการพัฒนารัฐสมบัติที่สำคัญ โดยเน้นที่เกษตรกรรม การค้า และการสนับสนุนประชาชนเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติ พระมหากษัตริย์มีบทบาทในการบำรุงรักษาป้องกันโจรภัยและสร้างความมั่งคั่งของประเทศ โดยให้การสนับสนุนทางการเงินและทรัพยากรต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

- สังคหวัตถุ
- การพัฒนากสิกรรม
- บทบาทของพระมหากษัตริย์
- การค้าและเศรษฐกิจ
- ความสำคัญของวาจาอ่อนหวาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เป็นที่รักให้เกิด ๑ ๒๕๕ สี่สังคหวัตถุนี้เป็นอุบายวิธีให้เกิดรัฐสมบัติ ซึ่งได้นามบัญญัติว่า นิรคุคคล สถานที่ราบคาบปราศจากโจรภัย จึงถึงวางใจได้ มีทวารเรือนไม่ต้องลงกลอน เป็นคำรบ ๕ กสิกรรมการทำนาเป็นกำลังใหญ่ของประเทศแถบบุรพทิศ ดุจภาษิตว่า นตฺถิ ธัญญสมิก ธน ทรัพย์อันจะเสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี เมื่อราษฎรทำนาได้ผลดี ประเทศย่อมมีความสมบูรณ์ การบำรุงกสิกรรมจึงเป็นราชกรณียะของพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อว่า สสสเมธ์ ประการหนึ่ง ราชบุรุษ ผู้รับราชการทั้งฝ่ายเสนาทั้งฝ่าวเสนี ย่อมไม่มีโอกาสที่จะประกอบกิจเพื่อประโยชน์ตน จึงเป็นคน ควรจะได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต แลเป็นกำลังในราชกิจ เป็นผู้ควรยก ย่องไว้ในฐานันดรเป็นพิเศษ จากราษฎรสามัญ เพื่อมีอำนาจในราชกิจนั้น ๆ อันมีเป็นหน้าที่การ บำรุงราชยุราชจึงเป็นราชกรณียะของพระมหากษัตริย์เจ้า ชื่อว่า ปุริสเมธ์ อีกประการหนึ่ง พณิชกรรม การค้าขาย ย่อมเป็นสิ่งที่มุ่งหมายอันสำคัญของประเทศส่วนหนึ่ง คู่กับกสิกรรม เมื่อ พวกพาณิชประกอบกิจค้าขายมีผล รัฐมณฑลย่อมมั่งคั่งด้วยทรัพย์สิน พระเจ้าแผ่นดินจึงควรทรง เป็นพระราชธุระ ในอันบำรุงการค้าขายให้เป็นไปโดยสะดวก นี้เรียกว่า สมมาปาส์ ทรงรู้จักผูก คล้องน้ำใจคนอีกประการหนึ่ง วาจาย่อมเป็นเครื่องส่ออัธยาศัยของบุคคล เมื่อพระมหากษัตริย์ ตรัสกะชนทั้งหลาย ด้วยพระวาจาอภิปรายอ่อนหวาย ทรงทำพระราชปฏิสันถารทักทายโปรย ปรายทั่วไป เขาย่อมเห็นพระราชอัธยาศัยว่า ทรงพระเมตตาอารี แต่นั้นก็จะมีความจงรักภักดีรัก ใคร่ในพระองค์ การตรัสพระวาจาอ่อนหวาน จึงเป็นราชกรณียะอันพระภูบาลจะพึงทรงทำ ชื่อว่า วาจาเปยย์ อีกประการหนึ่ง เมื่อประชาชนทุกจำพวกได้รับทำนุบำรุงให้มีกำลังเลี้ยงตนได้แล้ว ประเทศย่อมสงบราบคาบจากโจรภัยมีเรื่องเล่าไว้ว่า ระงับโจรผู้ร้าย พระเจ้ามหาวิชิตราชทรับพระราชดำริจะ ในพระราชอาณาเขตทรงพระสันนิษฐานตามคำของพราหมณ์ปุโรหิตว่า แต่ลำพังจับมาลงพระราชอาณาเขตไม่สามารถจะระงับให้ราบคาบได้ เพราะโจรที่จับได้นั้นเป็นแต่ บางราย โจรที่เหลืออยู่ยังเบียดเบียนคนทั้งหลาย ได้ต่อไปอีก พระองค์ทรงตั้งอยู่ในพระราโชบาย ทรงสงเคราะห์ชนชาวนาด้วยพันธุ์พืชข้าวปลูก แลเครื่องอุปกรณ์สำหรับกสิกรรม ทรงอุปถัมภ์ พวกพาณิชด้วยทรัพย์เป็นต้นทุน ทรงอุดหนุดราชบุรุษด้วยเบี้ยเลี้ยง แลเบี้ยหวัด ให้มีกำลังเลี้ยง ตนไม่ประพฤติ ทุจริตทางโจรกรรม พวกราชบุรุษได้รับราชอุปถัมภ์พอเพียงแล้ว ย่อมประพฤติ เป็นธรรมในหน้าที่ ไม่เห็นแก่ทรัพย์อันจะพึงได้โดยทางไม่ชอบ รัฐชนบทก็ประกอบด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More