ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช(กิตฺติโสภณมหาเถระ)
๑๐๙
ได้ปฏิบัติไปโดยสมควรแก่กรณี ก็เป็นประสาสนวิธีที่นับเนื่องในสหกรณ์ ด้วยมุ่งหมายผลคือสันติ
อันเป็นประโยชน์ใหญ่ที่สหประชาชาติมีความมุ่งหมายร่วมกันอยู่ ณ บัดนี้ ฯ สหกรณ์ทั้งภายใน
ทั้งภายนอกที่รัฐบาลแห่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พยายามอยู่ด้วยวิริยะอุตสาหะอัน
ยิ่งใหญ่ จักสำเร็จเป็นมหาพละกำลัง ยังพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งตั้งอยู่มั่งคงโดยเกษมสวัสดี เป็น
เหตุเพิ่มพูนพระราชกฤษฎาภินิหารบารมีในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า จัดเป็นมงคลวิ
เสสประการที่ต้น ฯ
สันติ นั้นคือความสงบ เป็นผลสืบมาแต่สหกรณ์ เป็นคุณสมบัติอันจะพึงปรารถนาทั้ง
ทางคดีโลกทั้งทางคดีธรรม ในทางคดีโลก การปกครองตั้งแต่ชนผู้เป็นอธิบดีแห่งสกุลแห่งคณะ
ตลอดถึงแห่งราชอาณาจักร มีสันติเป็นข้อมุ่งหมายอนใหญ่ คนในสกุลเกิดทะเลาะวิวาทกัน คนใน
คณะเบียดเบียดทำร้ายกันต่างอยู่ไม่เป็นสุข หัวหน้าของสกุลของคณะจำคิดป้องกันการทะเลาะ
วิวาทและการเบียนกันมิให้เกิดขึ้น และระงับเหตุเช่นนั้นอันเกิดขึ้นแล้ว มุ่งรักษาความอยู่สงบเป็น
นิจ ไม่เพียงเท่านั้น สกุลหรือคณะเป็นอริกันขึ้น กับสกุลหรือคณะอื่น เป็นต้นว่า ที่อยู่ติดกัน
ผลอันไม่พึงปรารถนาก็จะพึงมีมา หัวหน้าทุก
ราชอาณาจักรมี
หรือมีประโยชน์ร่วมกันแต่ไม่ปรองดองกัน
ฝ่ายจำต้องมีวิสาสะกัน มีความผ่อนผันด้วยไมตรีจิต ต่างฝ่ายจึงจักอยู่เป็นสุข
โจรผู้ร้ายปล้นทรัพย์ ผลาญชีวิตทำร้ายร่างกายชุกชุม ประชาราษฎร์ย่อมอยู่ด้วยความหวางเสียว
วางใจในชีวิตและทรัพย์สินลงมิได้ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ปรกครองอาณาจักรจึงตั้งกฎหมายไว้เพื่อ
ลงโทษผู้ทำผิด และระงับวิวาทเรื่องทรัพย์กับรักษาสิทธิและอิสรภาพ ของประชาชน ตั้งศาลไว้
เพื่อพิจารณาอรรถคดี จัดอารักษา เพื่อป้องกันภยันตรายแต่โจรผู้ร้าย และจัดการอย่างอื่น อีก
ก็เพื่อรักษาความสงบภายใน จัดกองทัพสาสมศาสตราวุธยุทธภัณฑ์เสบียงพาหนะและอื่น ๆ ก็ดี
ผูกไมตรีสัญญา ต่อกันกับต่างอาณาจักรหรือเข้ารวบรวมกำลังเป็นสัมพันธมิตรก็ดี
๘ ๘
กเพอ
รักษาความสงบภายนอก ฯ สันติเป็นผลมุ่งหมายแห่งรัฐประศาสน์สำเร็จด้วยกำลังทรัพย์อันจะ
จึงนับมิได้ ทั้งด้วยสติปัญญาวิริยะอุตสาหะ สามารถและสหกรณ์อันเป็นกิจที่พึงทำก่อนอย่างอื่น
ทงนน
ในทางคดีธรรม สันติเป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธศาสนา มีพระพุทธภาษิตวางไว้เป็นหลักว่า
“สนฺติเมว สุสิกเขยุย พึงสำเหนียกให้ดีถึงความสงบนั้นแล” อีกข้อหนึ่งว่า “สนฺติมคฺคเมว
พรูหย จงพูนทางแห่งความสงบเที่ยว” ฯ อันผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาจะประกอบกิจก็ดี จะ
ประพฤติกิริยาก็ดี จะกล่าววาจาก็ดี จะดำริคิดก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง