ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
๘๗
และเฉลี่ยนเก็บส่วนกำไรเป็นพลีแต่พอสมควรระวัง
หาเลี้ยงชีพของประชาชนราษฎร์ให้มีผลแล้ว
ไม่ให้ยุบยาก ให้ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง
๒ ฝ่าย เหมือนนายโคบาลผู้ฉลาดรู้จักรีดน้ำนมโค
ปล่อยให้มีส่วนเหลือ เพื่อลูกโคได้ดื่ม ไม่รีดจนหมดฉะนั้น และประหยัดแต่การแสวงหาในทาง
อันเป็นอุบายมุขของมหาชน เป็นต้นว่าการพนัน ไม่คิดอุดหนุน เป็นแต่จะคอยเกียดกันไม่ให้ทำ
ง่าย อีกประการหนึ่ง มาตั้งอยู่ในอารักขสัมปทา รู้จักอุบายในที่จะรักษาสมบัติของประเทศให้พอ
สมแก่กำลังไม่ยังทรัพย์ให้เปลืองไปในทางไม่มีประโยชน์ต้นไม้มีกาฝากเท่าใด ก็ต้องลดรสาหารที่
ได้สำหรับเลี้ยงตนเจือจานไปเลี้ยงเท่านั้น ประเทศก็เหมือนกัน มีภาระอันหาประโยชน์มิได้ ก็จำ
เสียกำลังและทรัพย์ไปในทางนั้นมาก รู้จักรวมกำลังและทรัพย์มาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ อนึ่ง
โสด มาตั้งอยู่ในสมชีวิตา รู้จักประมาณในการจ่ายทรัพย์ แม้ในทางที่สมควรไม่ให้เกิดจำนวนทรัพย์
ที่หาได้ เข้าใจผ่อนปรนให้กิจสำเร็จ แต่ให้เป็นประเทศที่มั่งคั่งเช่นนี้ ย่อมจะมีความเจริญสมบูรณ์
ตั้งมั่นไม่ล่มจม.
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงทราบความพอดี แห่งพระราชอาณาจักรและทรง
ทำนุบำรุงสมแก่สมัย ทรงเพิ่มพูนพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินให้ไพบูล ในทางบำรุงอุบายเลี้ยง
ชีพของประชาชนและจัดระเบียบการเก็บพลีให้รอบคอบ ไม่พักต้องทำความบอบช้ำแก่ชนนิกร สิ่ง
ใดควรเก็บ ควรขึ้น ควรเลิกถอน ควรลด ก็ทำตามควรอย่างไรรักษาประโยชน์หลวงประโยชน์
ราษฎร์ให้เป็นไปกลมเกลียวกัน ตั้งพระราชหฤทัยจะเกียดกันทางอบายมุขของมหาชน จึงได้ทรง
ไม่ใช่ช่การจำเป็นระวังจำนวนจ่ายไม่ให้ท่วมจำนวนได้
ทางเสื่อมเสีย
ผ่อนเลิกอาการบ่อนเบี้ยให้คงมีแต่ในบางตำบลและจะลดให้น้อยกว่าจะเลิกได้ขาด
ของประชาราษฎร์อย่างอื่น ๆ ก็จัดการป้องกัน ในอันระวังให้ได้ช่องที่จะทำน้อยเข้าตามกำลังของ
แผ่นดินที่จะทำได้พระราชทรัพย์ที่จะได้เท่าไรและที่จะจ่ายเท่าไรในปี ๆ ก็จัดให้มีงบประมาณ ถ้า
ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ปลดปละเสีย
สมบัติของแผ่นดินที่ควรรักษา ทั้งที่เป็นสวิญญาณณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ เป็นต้นว่า ฝูง
สัตว์พาหนะ และที่นาป่าไม้ก็บำรุงรักษา, พระราชอาณาจักรได้รับบำรุงเช่นนี้ ย่อมมั่งคั่งสมบูรณ์
ขึ้นโดยลำดัลมา, พระมหานครเกลื่อนกล่นด้วยหมู่ชนสัญจรไปมา เป็นที่ประชุมแห่งพาณิชกรรม
พระปรีชารอบรู้ความพอดีของพระราช
สมด้วยคำสรรเสริญสมบัติของบ้านเมืองในพระบาลี
อาณาจักรเช่นนี้ นับเป็นมัตตัญญุตา เป็นองคคุณของพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้เกิดสิริสวัสดิ์
วิบุลผล เป็นมงคลวิเสสที่ ๒.