ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
ประชุมชน เป็นบุคคลที่บัณฑิตจะพึงสรรเสริญ
๑๗
เมื่อมารำพึงถึงกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติของท่าน
วุฑฒบุคคล อันอำนวยผลให้ท่านสมบูรณ์ด้วยชาติอันประเสริญ เกิดในตระกูลอันสูงมีชนมายุยืน
เป็นเหตุแล้ว และเคารพนบนอบโดยสถานเป็นดั่งภาชนะที่รองกุศลสุจริต เป็นธรรมคารวะธรรม
บูชา พร้อมด้วยอาการกายวาจาจิตครอบทวารตรัย นี้จัดเป็นอปจายนมัยกุศล ท่านพรรณนา
ว่า อาจอำนวยอิฏฐวิบุลผลในปัจจุบันนี้ ดังแสดงไว้ในคาถาประพันธ์ว่า
อภิวาทนสีลิสฺส
นิจจ์ วุฑฒาปจายิโน
จตุตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วัณโณ สุข พล ฯ
ดังนี้ มีความว่า ธรรมสิ่งชอบเป็นคุณที่สัตว์ต้องประสงค์ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณ ผิว
กาย สุขกายสุขใจ กำลังกายกำลังความคิดย่อมเจริญทวีมากขึ้นแก่บุคคลผู้ทำการกราบไหว้เป็น
ปกติ คำนับนบนอบผู้เจริญอยู่เป็นนิตย์ มีอธิบายว่า อปจายนมัยกุศลนั้นเป็นประโยคสมบัติ มี
กำลังบำบัดอุปปีฬกกรรมและอุปฆาตกกรรมเสียไม่ให้ช่องเพิ่มอนิฏฐวิบากแก่ผู้นั้น ผู้นั้นก็พ้น
ภยันตรายต่าง ๆ มีอายุยืนดำรงนาน พรรณะ สุขะ พละ ๓ ประการ ก็เจริญตามอายุนั้น เมื่อ
ทำลายขันธ์แล้ว ยังมีสุคติภพเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าดังแสดงไว้ว่า สมปราโย จ สุคติ
สัมปรายภพจะเป็นสุคติด้วย ดังนี้
อีกประการหนึ่ง สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระเดชานุภาพลบล้นล่วง
พ้นอำนาจแห่งรัฐอาณา ถึงดั่งนั้น ยังทรงสัมมาคาวระในราชะรรม มิได้ทรงกล้ำเกินและมิให้ผิด
ราชประเพณี นี้อปจายนวิธี เป็นไปในธรรมที่ชอบ เป็นคุณสมบัติบำรุงรัฐมณฑลให้เกษมสำราญ
นิราศภัย มีข้ออุปมาอุปไมยแสดงไว้ในพระบาลีจตุกกนิบาตอังคุตตรนิกาย (๒) ว่า คุนนญเจ
ตรมานาน เป็นต้น ความว่า เมื่อโคทั้งหลายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด โคทั้งปวงนั้นก็ไป
คดตามกัน ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง โคทั้งปวงนั้นก็ไปตรงตามกัน ข้อนี้ฉันใด
เอวเมว มนุสฺเสสุ
โย โหติ เสฏฐสมุมโต
น่าทึ่
ในหมู่มนุษย์ก็อย่างเดียวกัน ถ้าท่านผู้ได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ประพฤติไม่เป็นธรรม
ประชาชนเหล่านี้จะประพฤติไม่เป็นธรรมบ้าง ถ้าท่านจะประพฤติเป็นธรรม น่าที่จะประพฤติ
เป็นธรรมบ้าง ถ้าพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐจังหวัดก็อยู่ไม่สุข แม้แต่
(๑) ขุ. ธ. ๒๕/๒๙. (๒) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๘.