ข้อความต้นฉบับในหน้า
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
៦៨
ในศก ๑๒๖
๓
ประการ คือ วิริยสมบัติ
โลกัตถจริยา
๑
๑
จะพรรณนาพระคุณพิเศษ
รัฏฐาภิบาลโนบาย ๑ พอเป็นนิทัสสนนัย
วิริยสมบัติข้อต้นนั้น คือถึงพร้อมด้วยความเพียร, ความเพียรนั้นเป็นคุณอันพยุงจิตในอัน
ประกอบกิจไม่ให้ท้อ ได้ชื่อในบาลีเป็นหลายประการ โดยลักษณะมีอาทิ คือ วิริย์ เพราะเป็น
เหตุแกล้วกล้าของบุคคล อุฏฐาน เพราะเป็นเหตุลุกขึ้นประกอบกิจไม่นั่งนิ่ง อุสสาโห เพราะ
เหตุอาจหาญและอดทน ธิติ เพราะเป็นเหตุมั่นคง อฏฐิติ เพราะเป็นเหตุไม่หยุด วายาโม
เพราะเป็นเหตุชักไป ปรกฺกโม เพราะเป็นเหตุบากบั่น มีแต่จะก้าวไปข้างหน้า อปปฏิวาณี
เพราะเป็นเหตุไม่ถอยหลัง ปธาน และ ปคุคโห เพราะเป็นเหตุประคองใจไว้, ความเพียรมี
ลักษณะดังกล่าวแล้วนี้ เข้าอุดหนุนในกิจการใด ๆ ย่อมทำกิจการนั้น ๆ ให้แรงขึ้น ทั้งข้างขอบ
ทั้งข้างผิด จึงควรที่บุคคลจะรู้จักในทางที่ถูกจำจะให้สำเร็จอิฏฐวิบุลผล ไม่เช่นนั้น กลับจะให้เกิด
โทษแก่ตนยิ่งขึ้นไป เปรียบเหมือนเครื่องอุปกรณ์สำหรับทำไม้ เจ้าของใช้ในทางที่ผิด เช่นให้
ประการ ย่อมจะให้โทษ ใช้ในทางที่ถูก เช่นใช้ทำกิจ ย่อมจะยังประโยชน์นั้น ๆ ให้สำเร็จได้ ข้อนี้
ฉันใด ความเพียรก็เป็นฉันนั้น และความเพียรที่ประกอบถูกทางแล้ว ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ
แก่ชนทุกจำพวก อุปัฏฐากของจุลลกเศรษฐีมีความหมั่นและรู้จักประกอบพาณิชกรรมให้ถูกคราว
นิยมสั่งสมโภคทัพย์เป็นอันมากขึ้นได้ในไม่ช้า ต่อมาก็ได้เป็นเศรษฐีใหญ่ ได้ความสรรเสริญใน
คาถาประพันธ์ว่า
อปปเกนปิ เมธาวี
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
ปากเฏน วิจกฺขโณ
อณ์ อคฺคิว สนฺธวํ
บ
ความว่า บุคคลผู้มีปัญญา คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมยังตนให้ตั้งขึ้นได้ในยศศักดิ์ศฤงคารด้วย
ทรัพย์ที่เป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย ดุจชนผู้ก่อนไฟนิดเดียวให้เป็นกองโตขึ้นได้ฉะนั้น
(๑) ในศกนี้ เสด็จพระราชดำเนินยุโรป ได้ส่งไปถวายที่นั้น ฝ่ายในกรุง ก็ได้ถวายในพระราชพิธีแด่พระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าสยาม แต่ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมารแผนกหนึ่ง