ข้อความต้นฉบับในหน้า
เอกัคคตาในตติยฌาน
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 7
และจตุตถฌานในจตุกนัยและปัญจกนัยนั้นแล
จัดเป็นสุขสหคตสมาธิ (สมาธิประกอบพร้อมกับสุข ) เอกัคคตาในฌาน
สุดท้าย (ทั้ง ๒ นัย) จัดเป็นอุเปกขาสหคตสมาธิ (สมาธิประกอบพร้อม
กับอุเบกขา) แต่อุปจารสมาธิ ย่อมสหรคตด้วยปีติสุขบ้าง สหรคต
ด้วยอุเบกขาบ้าง อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๓ โดยจัดตามธรรมที่สหรคต
มีปีติสหคตสมาธิเป็นต้น
(ติกะที่ ๔]
เอกัคคตาในภูมิอุปจาร จัดเป็นปริตตสมาธิ (สมาธิมีคุณา
นุภาพน้อย) เอกัคคตาใน (ภูมิ) รูปาวจรและอรูปาวจรที่เป็นกุศล
จัดเป็นมหัคคตสมาธิ (สมาธิมีคุณนุภาพใหญ่) เอกัคคตาที่สัมปยุต
ด้วยอริยมรรค จัดเป็นอัปปมาณสมาธิ (สมาธิมีคุณานุภาพหาประมาณ
มิได้) อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๓ โดยจัด (ตามคุณานุภาพ) เป็น
ปริตตะ มหัคคตะ และอัปปมาณะ
(จตุกกะ ( สมาธิหมวด ๔) ที่ ๑
พึงทราบว่า สมาธิที่มีปฏิปทาลำบาก ทั้งมีอภิญญาช้าก็มี
สมาธิมีปฏิปทาลำบาก แต่มีอภิญญาเร็วก็มี สมาธิมีปฏิปทาสะดวก
แต่มีอภิญญาช้าก็มี สมาธิมีปฏิปทาสะดวกทั้งมีอภิญญาเร็วก็มี
ในคำว่าปฏิปทาและอภิญญานั้น สมาธิภาวนา (การบำเพ็ญสมาธิ )
อันเป็นไปเริ่มแต่ปฐมสมันนาหาร (การประมวลจิตตั้งลงในกรรมฐาน
ทีแรก) ไปจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้น ท่านเรียกว่า ปฏิปทา