ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 154
ค่อนข้างขมบ้าง รสค่อนข้างเผ็ดบ้าง รสค่อนข้างหวานบ้าง รสกร่อย
บ้าง รสชืดบ้าง รสเค็มบ้าง รสจืดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัว
ผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้นแล ย่อมเรียนอาการ แห่งนายจ้างของตน
ว่า " วันนี้แกงนี้ชอบใจนายจ้างของเรา หรือว่า นายจ้างของเรายื่น
(มือ) จำเพาะเพื่อแกงนี้ หรือว่านายจ้างของเราตักแกงนี้มาก หรือว่า
นายจ้างของเราชมแกงนี้ หรือว่าวันนี้แกงรสเปรี้ยวชอบใจนายจ้าง
ของเรา หรือว่านายจ้างของเรายื่น (มือ) จำเพาะเพื่อแกงรสเปรี้ยว
หรือว่านายจ้างของเราตักแกงรสค่อนข้างเปรี้ยวมาก หรือว่านายจ้าง
ของเราชมแกงรสค่อนข้างเปรี้ยว ฯลฯ หรือว่านายจ้างของเราชมแกง
รสจืด " ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้นแล ย่อมเป็น
ผู้ได้เครื่องนุ่งห่ม ได้บำเหน็จและได้รับคำยกย่อง นั่นเพราะเหตุไร
เพราะพ่อครัวผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้น เรียนนิมิต (อาการ) แห่งนายจ้าง
ของตนไว้ได้ดังกล่าวนั้น ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บัณฑิต
เฉลียวฉลาดลางรูปในธรรมวินัยนี้ตามดูกายในกายอยู่ตามดูเวทนา
*
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ตามดูจิตในจิตอยู่ ตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ จึงเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ เมื่อเธอตามดูกายในกาย ตามดูเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย ตามดูจิตในจิต ตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมเป็น
สมาธิ อุปกิเลสทั้งหลายเธอละได้ เธอก็เรียนอาการนั้นไว้ ภิกษุ
ค
ต่อนี้น่าจะกล่าวความว่า ตั้งแต่นั้นพ่อครัวก็น้อมนำแต่แกงที่นายจ้างชอบเข้าไปตั้ง
ให้ ดังนีแล้วจึงถึงตอนได้รางวัลต่อไป