ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 21
น้ำอ้อย (ถวาย) ถวายผ้าสาฎกผืนนั้นแหละแด่พระเถระ ไหว้แล้ว
เรียนว่า โรหณชนบทเท่านั้นเป็นที่สัปปายะสำหรับผม ขอรับ แล้วก็
(ลา) ไป ข้างพระเถระก็มาสู่ ( โกรันทุก) วิหาร รุ่งขึ้นจึงเข้าไปหมู่
บ้านโกรันทกคาม
ฝ่ายอุบาสิกาหวังใจว่า หลวงพี่ของฉันจะพาพระลูกชายของฉัน
มาประเดี๋ยวนี้ละ ก็เฝ้ายืนมองหนทางอยู่ทุกวี่วัน วันนั้น ) นางเห็น
ท่านมาองค์เดียว สำคัญเอาว่า ชะรอยบุตรของตัวตายเสียแล้ว พระ
เถระนี้จึงมาแต่ผู้เดียว ก็ฟุบลงร้องไห้คร่ำครวญอยู่แทบเท้าพระเถระ
พระเถระนึกรู้ว่า " ภิกษุหนุ่ม ( มาแล้ว ) ไม่ให้ใครรู้จักตัว เพราะความ
มักน้อย ( กลับ ) ไปเสียแล้วละซิหนอ " จึงปลอบนาง ( ให้คลายปริ
เทวะ ) แล้วเล่าประพฤติเหตุทั้งปวง ( ให้ฟัง แล้วนำผ้าสาฎก (ผืนนั้น )
ออกจากถลกบาตรแสดง ( ให้เห็นเป็นพยาน ) อุบาสิกา ( ทราบความ
จริงเช่นนั้น )เกิดความเลื่อมใส หันหน้าไปทางทิศที่พระลูกชายไป
ก้มลงนมัสการ พลางกล่าวว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า คงทรงทำ
ภิกษุผู้เช่นดังบุตรเรา ( นี่แหละ ) หนอ ให้เป็นกายสักขี ( ผู้ถูกชี้เป็น
ตัวพยาน ) ตรัส รถวินิตปฏิปทานาถกปฏิปทาตุวัฏฏกปฏิปทา” และ
๑. อุเรน นิปชฺชิตวา นมสฺสมานา ฟังดูท่วงทีจะเป็นไหว้ด้วยอัษฎางคประดิษฐ์กระมัง?
๒. มหาฎีกาว่า วินิตปฏิปทา หมายเอาการปฏิบัติวิสุทธิ ๗ อันมาในรถวินิตสูตร (มัช-
ฌิมนิกาย) ซึ่งกล่าวถึงกถาวัตถุ ๑๐ มีความมักน้อยเป็นต้นไว้ตอนต้นสูตร
นาลกปฏิปทา หมายเอา ( โมไนย ) ปฏิปทา ที่ตรัสแก่พระนาลูกเถระ ด้วย
พระคาถาว่า โมเนยฺยนฺเต อุปญญิสส์ เป็นอาทิ ( ในขุททกนิกาย )
ตุวฏฏกปฏิปทา หมายเอาปฏิปทาที่ตรัสด้วยพระคาถาว่า มูล ปปญจสงขาย เป็น
อาทิ (ในขุททกนิกาย สุตตนิบาต )
ทั้งหมดนี้ มุ่งหมายถึง อัปปิจฉกถา ซึ่งมีกล่าวไว้ในสูตรนั้น ๆ อันเป็นปฏิปทา
แห่งพระลูกชายของนาง