บทความเกี่ยวกับเทวตานุสสติในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 319
หน้าที่ 319 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจอย่างละเอียดถึงการฝึกอบรมจิตด้วยเทวตานุสสติ และความสำคัญของการระลึกถึงคุณของเทวดาในทางพุทธศาสนา โดยเน้นว่าการพัฒนาจิตจะได้รับประโยชน์จากการมีศรัทธาและการน้อมสู่คุณงามความดี นอกจากนี้ยังพูดถึงอานิสงส์และความสามารถในการเข้าถึงฌานภายใน และการส่งผลดีต่อชีวิตและประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นในอนาคต โดยอ้างอิงถึงกรรมและคุณธรรมที่สำคัญทั้งในเบื้องต้นและเบื้องท้ายในการฝึกฝน

หัวข้อประเด็น

-เทวตานุสสติ
-ฌาน
-การระลึกถึงคุณ
-ความสำคัญของศรัทธา
-อานิสงส์ในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 317 * ตนเพราะในอรรถกถาแก้ไว้เป็นมั่นเหมาะว่า " ตั้งเทวดาไว้ในฐาน แห่งพยาน ระลึกถึงคุณทั้งหลายของตน " ( [เทวตานุสสติฌาน] "ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เมื่อพระโยคาวจรนั้น แม้ระลึกถึงคุณของเทวดา ทั้งหลายในเบื้องแรกแล้ว ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้นที่ตนมีอยู่ใน เบื้องปลายนั่นแล ในสมัยนั้นจิตของเธอจึงไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุมไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ใน สมัยนั้นจิตของเธอย่อมดำเนินไปตรงแนวปรารภเทวดาแล องค์ฌาน ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้ว โดยนัย ก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ) นั่นแล แต่เพราะความที่สัทธาทิคุณ ทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้งหรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึก ถึงคุณมีประการต่างๆฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียง อุปจารเท่านั้น (และ) ฌานนี้นั้นก็ถึงซึ่งความนับ (ชื่อ) ว่า เทวตานุสสติ นั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงสัทธาทิคุณ ( ของตน ) อันเป็นเช่นกับคุณของเทวดาทั้งหลาย (อานิสงส์เจริญเทวตานุสสติ ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งเทวตานุสสตินี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ได้บรรลุความไพบูลย์แห่งสัทธาทิคุณ โดย ประมาณยิ่ง เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมชอยู่ อนึ่ง เมื่อยังไม่ บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มหาฎีกาว่า เบื้องแรกคือเริ่มภาวนา เบื้องปลาย คือในเวลาจะสำเร็จอุปจาร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More