ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 149
ว่าเป็น ( บริกรรม ) มาภายในอัปปนา นั่นเอง อุเปกขานุพฺรูหนา
ก็พึงทราบโดยว่าเป็นกิจแห่ง ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกขา และ สมุปห์สนา
ก็พึงทราบโดยว่าเป็นความสำเร็จกิจแห่งญาณอันทำให้ผ่องแผ้ว โดยยัง
ภาวะ คือ ความไม่เป็นไปล่วงเลยกันแห่งธรรมทั้งหลายเป็นอาทิให้
สำเร็จ” ถามว่าคำที่กล่าวนี้มีอรรถาธิบายอย่างไร ? แก้ว่า ก็อัปปนา
เกิดขึ้นในวาระใด ในวาระนั้นจิตย่อมหมดจดจากหมู่กิเลสกล่าวคือ
นิวรณ์อันเป็นอันตรายแห่งฌานนั้น เพราะหมดจดแล้ว จิตก็เป็น
ธรรมชาติปราศจากเครื่องกั้น ดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นสายกลาง
อัปปนาสมาธิอันเป็นไปสม่ำเสมอนั่นเอง ชื่อว่าสมถนิมิตอันเป็นสาย
กลาง” ก็แลอันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งอัปปนาจิตนั้น” เมื่อ
เข้าถึงความเป็นจิตมั่นโดยปริณามนัย (นัยแห่งความแปร ) ชั่วสันตติ
เดียว ชื่อว่าดำเนินสู่สมถนิมิตอันเป็นสายกลาง เพราะดำเนินไป
อย่างนั้น จิตชื่อว่าดิ่งไปในสมถะนั้น โดยเข้าถึงความเป็นจิตตั้งมั่น
ปฏิปทาวิสุทธิอันยังอาการ มีความหมดจดจากอันตรายเป็นต้น ) ที่มี
ด.
อาจารย์พวกหนึ่งที่กล่าวว่าปฏิปทาวิสุทธิ ได้แก่อุปจารนั้น มหาฎีกาว่าหมายเอาภิกษุ
วัดอภัยคีรี มหาฎีกาสนับสนุนวิสุทธิมรรคว่า คำของภิกษุวัดอภัยคีรีนั้นไม่ชอบ เพราะ
เท่ากับแสดงคุณของฌานด้วยอฌานธรรม ผิดจากพระบาลี ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นเรื่องภายใน
อัปปนาทั้งนั้น
๒. มหาฎีกาว่า ที่ชื่อว่ามัชฌิมะ (สายกลาง) ก็เพราะไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสอง
กล่าวคือ ความย่อหย่อนและความฟุ้งซ่าน
๓. มหาฎีกาว่า ปุริมจิตแห่งอัปปนาจิต ก็คือ โคตรภูจิต