วิสุทธิมรรค: ความเข้าใจในสมาธิ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 7
หน้าที่ 7 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อภิปรายเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของสมาธิในวิสุทธิมรรค โดยแบ่งออกเป็นสมาธิสามระดับ ได้แก่ สมาธิอย่างทราม, สมาธิอย่างกลาง และสมาธิอย่างประณีต นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเกี่ยวกับสมาธิในปฐมฌานและอุปจารสมาธิ ซึ่งประสบการณ์การทำสมาธินั้นมีส่วนช่วยลดความวุ่นวายใจและนำไปสู่ความสงบ ทางเลือกในการทำสมาธิของบุคคลมีหลายระดับ ตั้งแต่ออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่เห็นโทษในวิตกไปจนถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ผู้ศึกษานิยมเข้าถึงการฝึกฝนและปล่อยวางเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ที่แจ่มชัดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการทำสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฌาน และการฝึกดังกล่าวยังนำไปสู่การพัฒนาความมั่นคงทางจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ประเภทสมาธิ
-สมาธิอย่างทราม
-สมาธิอย่างกลาง
-สมาธิอย่างประณีต
-ปฐมฌาน
-อุปจารสมาธิ
-ปีติสหคตสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - (ติกะ ( สมาธิหมวด ๓) ที่ ๑ สมาธิที่สักว่าได้ จัดเป็นสมาธิอย่างทราม - หน้าที่ 6 สมาธิทีอบรมแล้ว ยังไม่ดีนัก จัดเป็นสมาธิอย่างกลาง สมาธิที่อบรมดีแล้วถึงความเป็นวสี จัดเป็นสมาธิอย่างประณีต อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๓ โดยจัดเป็นอย่าง ทราม อย่างกลาง อย่างประณีต (ติกะที่ ๒] สมาธิในปฐมฌานกับอุปจารสมาธิ จัดเป็นสวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิมีทั้งวิตกทั้งวิจาร) สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย จัดเป็น อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร) ก็บุคคลใด เห็นโทษแต่ในวิตกเท่านั้น ไม่เห็นโทษในวิจาร มุ่งอยู่แต่จะละวิตก อย่างเดียวล่วงปฐมฌานไป บุคคลนั้นย่อมได้สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่ วิจาร คำว่าสมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย จัดเป็นอวิตักกวิจาร มัตตสมาธิ นั้น ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาสมาธิของบุคคลนี้ ส่วน เอกัคคตาใน ๓ ฌานในจตุกนัย มีทุติยฌานเป็นต้น และในปัญจกนัย มีตติยฌานเป็นต้น จัดเป็นอวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิไม่มีทั้งวิตก ทั้งวิจาร) อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๓ โดยจัดตามองค์คือวิตกวิจาร มีสวิตักกสวิจารสมาธิเป็นต้น (ติกะที่ ๓] เอกัคคตาในฌาน ๒ ข้างต้นในจตุกนัย และในฌาน ๓ ข้างต้น ในปัญจกนัย จัดเป็นปีติสหคตสมาธิ (สมาธิประกอบพร้อมกับปีติ)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More