วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 70
หน้าที่ 70 / 324

สรุปเนื้อหา

ในวิสุทธิมรรค ภาค ๑ ตอน ๒ กล่าวถึงกรรมฐานที่สำคัญต่าง ๆ โดยอธิบายถึงอารมณ์และภูมิของกรรมฐาน รวมถึงการวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำความเข้าใจกรรมฐานในภูมิที่แตกต่างระหว่างเทวดา และมนุษย์ โดยแสดงให้เห็นความสำคัญของอารมณ์และการถือเอานิมิตในการปฏิบัติ. เนื้อหาเน้นถึงกรรมฐาน ๔๐ และการแยกแยะการปฏิบัติในหมู่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอรูปภพและความสัมพันธ์กับอานาปานสติ รวมทั้งความเข้าใจในบทต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบัณฑิตทั้งหลายในการทำความเข้าใจจิตใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้องในพุทธศาสนา. เนื้อหาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาและปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้.

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐานในวิสุทธิมรรค
-อารมณ์ในอาโลกกสิณ
-การวินิจฉัยโดยภูมิ
-การปฏิบัติตามนิมิต
-ความแตกต่างระหว่างภูมิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 68 วาโยกสิณ และลำแสงแห่งตะวันเป็นต้น ( ที่ส่องเข้ามาตามช่อง) อันเป็นอารมณ์ในอาโลกกสิณ เหล่านี้ ( เป็นจุลิตารมณ์ มีอารมณ์ ไหว แต่ว่าอารมณ์ไหวเหล่านั้นก็เป็นในตอนต้น ( เท่านั้น ) พอ เป็นปฏิภาคก็แนบนิ่ง กรรมฐานที่เหลือ ๓๒ ( เป็น นจลิตารมณ์) มีอารมณ์ไม่ไหว แล บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยอารมณ์ ดังนี้ [ภูมิโต] บทว่า " โดยภูมิ " มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐาน ๔๐ นี้ กรรมฐาน ๑๒ คือ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ นี้ ย่อมไม่เป็นไปในหมู่เทวดา” กรรมฐาน ๑๓ คือ กรรมฐาน ๑๒ นั้น และอานาปานสติ นี้ไม่เป็นไปในพรหมโลก” แต่ในอรูปภพ กรรมฐานอื่นเว้น อรูป ๔ ย่อมเป็นไปมิได้ ในหมู่มนุษย์ กรรมฐาน ย่อมเป็นไปได้ทุกข้อ แล พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ดังนี้ [คห โต] บทว่า " โดยการถือเอา ( นิมิต ) " มีวินิจฉัยว่า ก็การ วินิจฉัยในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยการถือเอา ( นิมิต ๓ ทางคือ ) ๑. มหาฎีกาว่า เพราะในเทวภูมิ ไม่มีอสุภและอาหารที่เป็นปฏิกูล ๒. มหาฎีกาว่า ที่อานาปานสติไม่เป็นไปในพรหมโลกนั้น เพราะในพรหมโลก (รูป ภพ ?) ไม่มีลมหายใจเข้า-ออก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More