วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การสังฆานุสสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 308
หน้าที่ 308 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงบทบาทของพระสงฆ์ในฐานะผู้เพาะปลูกบุญและต้นแบบในการเข้าถึงความสุขของชาวโลก ว่าด้วยการระลึกถึงพระสังฆคุณเพื่อสร้างฌานและความเคารพในพระสงฆ์ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านจิตใจและศรัทธา อ่านเพิ่มเติมที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของพระสงฆ์
-สังฆานุสสติ
-การสร้างบุญ
-การเจริญฌาน
-ความเชื่อในพระสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 306 องชาวโลกทั้งปวงฉันนั้น แท้ พระสงฆ์ก็เป็นที่เพาะปลูกบุญทั้งหลายของชาวโ จริง เพราะอาศัยพระสงฆ์ บุญทั้งหลายอันเป็นเครื่องบันดาลประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขนานาประการของชาวโลกจึงได้งอกขึ้น เพราะ เหตุนั้นพระสงฆ์จึงชื่อว่าเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า แล [สังฆานุสสติฌาน] เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงพระสังฆคุณทั้งหลาย อันต่างโดยคุณ มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้อยู่ในสมัยนั้นจิต (ของ เธอ ) ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็น จิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียวในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิต ดำเนินไปตรงแนวปรารภพระสงฆ์แล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นใน ขณะเดียวกันแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วโดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุท- ธานุสสติ ) นั่นแล แต่เพราะความที่พระสังฆคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณมีประการ ต่างๆ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น (และ) ฌานนี้นั้น ก็ถึงซึ่งความนับ (ชื่อ) ว่า สังฆานุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระสังฆคุณ [อานิสงส์เจริญสังฆานุสสติ ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งสังฆานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความ เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ได้ความไพบูลแห่งคุณมีศรัทธาเป็นอาทิ ด. ปุญญักเขตต์ นี้ มหาฎีกาท่านแนะให้แปลว่า "เป็นดุจนาบุญ" (โดยวิเคราะห์ไว้ว่า เขตต์ วิย เขตต์ ปุญญาน เขตต์ ปุญญักเขตต์)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More