วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 99
หน้าที่ 99 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงการภาวนาและการใช้ชื่อต่างๆ ของดินในการฝึกสมาธิ โดยเน้นชื่อ 'ปฐวี' เป็นคำภาวนาที่เด่น ชี้ให้เห็นขั้นตอนการนั่งสำรวมจิตและการนึกถึงชื่อ ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจและมีสมาธิที่ดีขึ้น ตัวอย่างของการฝึกตรงนี้แสดงถึงความสำคัญของการนึกถึงชื่อและการสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นในจิตใจ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพูดถึงการเตรียมร่างกายและอุปกรณ์ช่วยในการทำสมาธิและการย้ายที่นั่งภายหลังนิมิตเกิด

หัวข้อประเด็น

-การภาวนา
-อุคคหนิมิต
-ชื่อเรียกของดิน
-การฝึกสมาธิ
-การเตรียมตัวก่อนภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 97 คือนึกเสียว่า สีนั้นเป็นอันเดียวกับดินซึ่งเป็นที่อาศัยของมัน แยก กันไม่ออก) ตั้งจิตไว้ในบัญญัติธรรม (คือโลกโวหาร ) มนสิการ ไปโดยอุสทโวหาร (คือ คำที่ขึ้นปาก พูดกันมาก ) บรรดาชื่อ ของดินทั้งหลาย เช่น ปฐวี มหิ เมทนี ภูมิ วสุธา วสุนธรา พระโยคาวจรชอบชื่อใด ชื่อใดเป็นคำอนุกูลแก่สัญญา(คือช่วยให้ กำหนดจดจำง่าย ) สำหรับเธอ ก็พึงว่าชื่อนั้น ก็แต่ว่าชื่อคือ ปฐวี นั่นแหละเด่น เพราะฉะนั้น พึงภาวนาว่า ปฐวี ปฐวี โดยเป็นชื่อ เด่นอย่างเดียวเถิด พึงลืมตาดูพักหนึ่งแล้วหลับตานึกหน่วงดูพักหนึ่ง (สลับกันไป ) อุคคหนิมิตยังไม่เกิดขึ้นเพียงใด พึงภาวนาโดยนัย นั้นแลเพียงนั้น แม้ ๑๐๐ พัก ๑,๐๐๐ พัก แม้ยิ่งกว่านั้นก็ดี เมื่อเธอ ภาวนาไปอย่างนั้น ในขณะใดหลับตานึกหน่วงดู นิมิตมาสู่คลอง (แห่งมโนทวาริกชวนะ ) ดุจในเวลาลืมตา ในขณะนั้นชื่อว่าอุคคห นิมิตเกิดแล้ว ตั้งแต่เวลาที่อุคคหนิมิตนั้นเกิดแล้วไปไม่พึงนั่ง ในที่นั้น พึงเข้าไปสู่ที่อยู่ของตนแล้วนั่งในที่อยู่ของตนนั้นภาวนา (ต่อไป )" อนึ่ง เพื่อแก้ความชักช้าด้วยการที่ต้องล้างเท้า ต้องการรองเท้า ชั้นเดียวคู่ ๑ และไม้เท้าอัน ๑ สำหรับเธอ เพื่อถ้าสมาธิที่ยังอ่อน (นั้น) เสื่อมไปด้วยเหตุอันเป็นอสัปปายะอะไร ๆ ก็ดี เธอจะได้ ด. มหาฎีกาว่า ถ้าเมื่ออุคคหนิมิตเกิดแล้ว ยังดูวงกสิณ ภาวนาอยู่อีก ปฏิภาค นิมิตก็ไม่เกิด แล้วนั่งอยู่ใกล้เช่นนั้นก็อดดูไม่ได้ ท่านจึงแนะให้ย้ายที่เสีย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More