ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 219
ไว้ว่า " สภาวภาวโต ววฏฐเปติ กำหนดดูตามความที่มันเป็นของ
มันเอง " ดังนี้ ภาวะอันใด เป็นภาวะที่ซากศพนั้นมันเป็นเอง เป็น
ภาวะที่มันไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่น เป็นภาวะของตัวมัน คือความที่มันเป็น
ขึ้นพอง พึงทำในใจโดยภาวะอันนั้น หมายความว่าให้กำหนด
ดูตามความเป็นของมัน ตามรส ( คือกิจ) ของมันอย่างนี้ว่า " วณิต
อุทธุมาตก อสุภขึ้นพองน่าเกลียด "
ซากขึ้นพอง i
(ถือเอานิมิต โดยประการ ๖]
ครั้งกำหนดได้อย่างนี้แล้ว จึงถือเอานิมิต โดยประการ 5
(ก่อน ) คือ โดยสีกายบ้าง โดยเพศบ้าง โดยสัณฐานบ้าง โดยทิศ
บ้าง โดยโอกาสบ้าง โดยตัดตอนบ้าง ถามว่า ถือเอาอย่างไร ?
นซากของคน
แก้ว่า ก็พระโยคีนั้นพึงกำหนดดูโดยสีกายว่า " นี่เป็นซา
(ผิว) ดำ หรือของคน (ผิว) ขาว หรือของคนผิวสองสี "
ส่วนโดยเพศ อย่ากำหนดว่า เป็นเพศหญิง หรือว่าเพศชาย จึง
กำหนดว่า ( นี่เป็นซาก ) ของคนตั้งอยู่ในปฐมวัยหรือในมัชฌิมวัย
หรือในปัจฉิมวัย
โดยสัญฐาน ก็พึงกำหนดโดยสัณฐานอสุภที่ขึ้นพองเท่านั้น
(กระจายออกไป ) ว่า " นี่เป็นสัณฐานศีรษะ นี่สัณฐานคอ นี่สัณฐาน
มือ นี่สัณฐานท้อง นี่สัณฐานสะดือ นี่สัณฐานสะเอว นี่สัณฐานอก
G).
ปาฐะเดิม (หน้า ๒๓๐) เป็น... อุปลกฺเขติ
๒. มหาฎีกาว่า ความขึ้นพอง เป็นสภาวะ คือ เป็นลักษณะของมัน ความทำ
ให้เกิดความน่าเกลียดเป็นรส คือเป็นกิจ ( เป็นหน้าที่ ) ของมัน )