วิจารและปีติในทุติยฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 165
หน้าที่ 165 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการบรรลุทุติยฌานซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากปฐมฌาน โดยพิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อวิตกและวิจารระงับไป จะเกิดปีติและสุขจากสมาธิแทน โดยอธิบายว่าธรรมทั้งหลายในปฐมฌานและทุติยฌานมีความแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังพูดถึงการแก้ไขคำในปาฐะที่เกี่ยวกับวิตกและวิจาร รวมถึงความหมายที่เกี่ยวข้องในตัวบุคคล

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุทุติยฌาน
-ความแตกต่างระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌาน
-ความหมายของวิตกและวิจาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 163 วิจาร ไม่มีวิตก เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิอยู่ ด้วยประการฉะนี้ ทุติยฌานปฐวีกสิณอันละองค์ ๒ ประกอบ ด้วยองค์ ๗ งาม ๓ ประการ พร้อมไปด้วยลักษณะ ๑๐ ก็เป็นอัน พระโยคาวจรนั้นได้บรรลุแล้ว [แก้อรรถแห่งทุติยฌานปาฐะ ] ๒ ( แก้ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ) ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะว่า วิตกวิจาราณ์ รูปสมา นั้น ความว่า เพราะระงับไป คือเพราะล่วงเลยไป แห่งองค์ ๒ นี้ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ มีอธิบายว่า เพราะความที่องค์ ๒ นั้น ไม่ปรากฏในขณะ แห่งทุติยฌาน แม้ว่าธรรมในปฐมฌานทั้งสิ้นย่อมไม่มีในทุติยฌาน แท้จริงธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นอาทิ ในปฐมฌานเป็นอย่างหนึ่ง ใน ทุติยฌานนี้ก็อย่างหนึ่งโดยแท้ ถึงกระนั้นก็พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาค เจ้าตรัสคำว่า วิตกวิจาราณ์ รูปสมา ดังนี้ไว้ในทุติยฌานปาฐะนั้น ก็เพื่อแสดงว่า เพราะองค์หยาบๆ ล่วงไป ความบรรลุฌานที่ยิ่งกว่า ปฐมฌานขึ้นไป มีทุติยฌานเป็นต้นจึงจะมีได้ [แก้ อชฺฌตฺติ ] บท อชุมตต์ ในที่นี้หมายเอาภายในตน ส่วนวิภังค์กล่าว ไว้ว่า "อรุณฤติ คือจำเพาะตน" เท่านี้เอง ก็เพราะหมายเอา ภายในตน เพราะฉะนั้น ความในบท อรุณฤติ นี้จึงมีดังนี้ว่า เกิด แก่ตน หรือว่าเกิดในตน เกิดในสันดานแห่งตน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More