การวิเคราะห์และการอธิบายธรรมในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 292
หน้าที่ 292 / 324

สรุปเนื้อหา

บทวิเคราะห์นี้ครอบคลุมการศึกษาธรรมในวิสุทธิมรรค โดยแยกแยะความเป็นคุณลึกของสาตฺถะและสพฺยญฺชนะ ซึ่งส่งผลให้ผู้มีปัญญาและประชาชนทั่วไปเกิดความเลื่อมใสทั้งในด้านอรรถและเทสนา โดยอธิบายถึงความสำคัญของพยัญชนะและความง่ายในการเข้าถึงธรรมที่มีความลึกซึ้งนี้ ผ่านการสอบสวนต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การเข้าใจในสาระที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-ธรรมปฏิสัมภิทา
-การอธิบายธรรม
-ความเลื่อมใสในธรรม
-ความแตกต่างระหว่างคนมีปัญญากับคนทั่วไป

ข้อความต้นฉบับในหน้า

). ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 290 อักขระ (ตัวหนังสือ ) บท (คำที่ประกอบวิภัติ ) พยัญชนะ (พากย์) อาการ ( จำแนกพากย์ออกไป) นิรุติ (วิเคราะห์ศัพท์ ) นิเทศ (ขยาย นิรุติให้พิสดาร ) ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะความเป็นคุณลึกโดยอรรถ และความ เป็นคุณลึกโดยปฏิเวธ ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะความเป็นคุณลึก โดยธรรม และความเป็นคุณลึกโดยเทสนา ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะเป็นวิสัยแห่งธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า สาตฺถะ เหตุเป็นคุณยังปริกขกชน (คนมีปัญญาสอบ สวน ) ให้เลื่อมใส เพราะเป็นปัณฑิตเวทนียธรรม ( สำหรับคนฉลาด จะพึงรู้ได้ ) ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เหตุเป็นคุณยังโลกิยชน (คนทั่วๆ ไป ) ให้เลื่อมใส เพราะเป็นสัทไธยธรรม ( ทำให้ศรัทธาเกิด) มีบทตื้น ชื่อว่า 1 สาตฺถะ เพราะมีอธิบายลึกซึ้ง ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะ ๑. หมายความว่า พวกคนฉลาดๆ เชื่อยาก เพราะชอบใช้ปัญญาพิจารณาสอบ ธรรมนี้ ก็ปลูกความเลื่อมใสให้เกิดแก่คนพวกนี้ได้ เพราะธรรมนี้บริบูรณ์ด้วยอรรถะ ซึ่งยิ่ง พิจารณาก็ยิ่งเห็นจริง ส่วนพวกคนพื้นๆ แม้ไม่ใช้ปัญญาก็เกิดความเลื่อมใสได้ด้วย พยัญชนสมบัติ คือธรรมนี้มีพยัญชนะสมบูรณ์พอที่จะฟังให้รื่นหูรื่นใจ เลื่อมใสทั้งที่ ไม่รู้ความก็ได้ ๒. หมายความว่า ถ้ามีอรรถาธิบายตื้นๆ ดาดๆ จะสรรเสริญว่ามีอรรถสมบัติอย่างไร และถ้ามีบทพยัญชนะลึกเสียจนไม่มีใครจะแปลออก จะสรรเสริญว่ามีพยัญชนะสมบัติ ไฉน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More