วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การวิเคราะห์อสุภ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 242
หน้าที่ 242 / 324

สรุปเนื้อหา

ในพุทธศาสนา การมองเห็นอสุภช่วยลดความยึดติดในเรือนร่าง โดยการเข้าใจถึงความไม่บริสุทธิ์ของร่างกาย อย่างเช่น วิกขายตกอสุภ ที่เน้นความสูญเสียสมบัติแห่งเนื้อ วิกขิตตกอสุภ ที่ชี้ให้เห็นถึงความกระจัดกระจายขององคาพยพ ที่ทำให้บุคคลหลุดพ้นจากความกำหนัด อสุภทั้ง 10 มีการพิจารณาในลักษณะต่างๆ ที่พุทธศาสนากำหนด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมทราบถึงการสูญสาระของร่างกาย ด้วยความเข้าใจว่าไม่มีสิ่งใดในร่างกายที่แท้จริงหรือถาวร.

หัวข้อประเด็น

-วิเคราะห์วิสุทธิมรรค
-ความหมายของอสุภ
-การหลุดพ้นจากความกำหนัด
-แนวทางพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 240 [๕] วิกขายตกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในเนื้อ นูน ในตำแหน่งแห่งสรีระต่างๆ มีเต้าถันเป็นอาทิ เพราะแสดงความสูญ เสียสมบัติแห่งเนื้อนูน [๖] วิกขิตตกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในลีลา ( ท่าทาง ) ขององคาพยพใหญ่น้อย เพราะชี้ให้เห็นความกระจัด กระจายแห่งองคาพยพใหญ่น้อย [๒] หตวิกขิตตกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดใน สมบัติแห่งเรือนร่าง เพราะประกาศความผิดรูปด้วยแตกกันไปแห่ง เรือนร่าง [๘] โลหิตกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในความ งามที่เครื่องประดับทำให้เกิด เพราะประกาศความเป็นร่างปฏิกูลด้วย โลหิตเปื้อน [6] ปุฬวกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในกาย ด้วยความสำคัญหมายว่า " ของเรา " เพราะส่อความที่กายเป็นของ สาธารณะแก่หมู่หนอนหลายชนิด [๑๐] อัฏฐิกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในสมบัติ แห่งฟัน เพราะประกาศความที่กระดูกในสรีระทั้งหลายเป็นของปฏิกูล (ทั้งนั้น ) [ในอสุภมีฌานเพียงปฐมฌานเท่านั้น] อนึ่ง เพราะเหตุว่า ในอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น จิตจะตั้งอยู่เป็น หนึ่งแน่ได้ ก็ด้วยกำลังแห่งวิตก เท่านั้น เว้นวิตกเสีย หาอา หาอาจตั้งอยู่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More