ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 216
า
ตรงนี้มีก้อนหิน ตรงนี้มีจอมปลวก ตรงนี้มีไม้ต้น ตรงนี้มีไม้กอ
ตรงนี้มีไม้เถา " ดังนี้ ( เรื่อย ) ไป (จน) ถึงที่ๆ นิมิตตั้งอยู่ อนึ่งเล่า
ไม่ควร ( เดินเข้า ) ไปทวนลม เพราะว่าเมื่อไปทวนลม กลิ่นศพจะพึง
กระทบจมูกทำให้เยื่อสมองอักเสบไปก็ได้ ทำให้สำรอกอาหาร ( ที่กิน
เข้าไปแล้วออกมา ) ก็ได้ ทำให้เกิดความเสียใจว่า " โธ่เอ๊ย เรามา
( เจอเอา ) ที่ทิ้งศพเช่นนี้เข้า " ก็ได้ เพราะฉะนั้น พึงเว้นทางทวนลม
เสีย ไปตามลมเถิด ถ้าไม่อาจไปโดยทางตามลมได้ มีภูเขาหรือเหว
ก้อนหิน ( ใหญ่ ) รั้ว คงหนาม น้ำหรือหล่มก็ตามอยู่ในระหว่างไซร้
ก็พึงปิดจมูกด้วยชายจีวร ไปเถิด นี้เป็นวัตร ในการไปแห่งพระโยคาวจร
นั้น
[วัตรเมื่อไปถึงที่อสุภแล้ว]
ก็แลพระโยคาวจรผู้ไปถึง ( ที่อสุภ ) อย่างนี้แล้ว อย่าเพิ่งอสุภ
นิมิต พึงกำหนดทิศเสียก่อน เพราะเมื่อเธอยืนข้างทิศหนึ่ง อารมณ์จะ
ไม่ปรากฏชัดและจิตก็จะไม่เป็นกัมมนียะ (ควรแก่การภาวนา) ด้วย
(ก็ได้ ) เพราะเหตุนั้น พึงเว้นข้างทิศนั้นเสียแล้ว ยืนทางทิศที่เมื่อยืน
แล้วอารมณ์จะปรากฏชัด และจิตก็จะเป็นกัมมนียะด้วยนั้นเถิด
)
อนึ่ง พึงละ ( การยืน ) ทวนลมและตามลม (ตรงๆ) เสีย
เพราะเมื่อยืนทวนลม ( ตรงศพ) ถูกกลิ่นศพรบกวนจิตจะพล่าน เมื่อ
ยืนตามลม ( ตรงศพ ) ถ้ามีอมนุษย์สิงอยู่ในศพนั้น มันจะโกรธเอา
* ลมที่ว่านี้ หมายเอาลมที่พัดผ่านศพ ท่านพูดว่าทวนลมตามลม เพราะหมายเอาลม
เป็นหลัก ฝ่ายเราพูดกันว่าใต้ลมเหนือลม เพราะมุ่งเอาศพเป็นหลัก