อุปมาแห่งสัมมาวายามะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 125
หน้าที่ 125 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเปรียบเทียบการทำงานและความพยายามที่เหมาะสม เหมือนผึ้งที่เลือกดอกไม้และศิษย์ที่ใช้มีดสลักอย่างชาญฉลาด โดยมีการแสดงอุปมาที่ช่วยให้เข้าใจถึงผลลัพธ์จากการกระทำที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกอย่างอิงอยู่กับความพยายามที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สิ่งที่มีค่า นอกจากนี้ยังพูดถึงการนำของมีค่าเช่นใยแมลงมุมมาถวายเพื่อรับรางวัลภูมิปัญญา

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาตนเอง
-การใช้ความรู้
-การทำงานด้วยความฉลาด
-ผลของการกระทำ
-แนวทางการใช้ศิลปะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 123 [อุปมาแห่งสัมมาวายามะ] (ต่อไป ) นี้ เป็นคำแสดงความในสองคาถาข้างท้าย อุปมา เหมือนผึ้ง (ตัวหนึ่ง) โง่ รู้ว่าดอกไม้ต้นโน้นบานแล้ว แล่นไปโดย ความเร็วจัด ( จนยังไม่อยู่) เลยล่วงดอกไม้นั้นไปเสีย ย้อนกลับมาถึง ต่อเมื่อเกสรมันสิ้น (รส) เสียแล้ว อีกตัวหนึ่งก็โง่ แล่นไปโดยความ เร็วอ่อน ไปถึงเมื่อ ( เกสร ) มันสิ้น (รส) แล้วเหมือนกัน ส่วนผึ้งตัว ที่ฉลาดแล่นไปโดยความเร็วพอดี ถึงกลุ่มดอกไม้แล้ว เคล้าเอาเกสร เท่าที่ต้องการมาปรุงเป็นน้ำผึ้ง ก็ได้เสวยรสหวานสบายไป ฉันใด อนึ่ง อุปมาเหมือนเมื่อพวกลูกศิษย์ช่างสลักใช้ ( ปลาย ) มีดสลัก (ลวดลาย) ลงที่ใบอุบล*ที่ลอยไว้ในอ่างน้ำกันอยู่ ศิษย์คนหนึ่งฉลาดเกินไปจด มีดลงเร็ว ( ทำให้ ) ใบอุบลฉีกบ้าง จมน้ำไปบ้างอีกคนหนึ่งไม่ ฉลาดเลย ไม่กล้าแม้แต่จะเอามีดถู ( ใบอุบล ) เพราะกลัวมันฉีกและ จม ส่วนคนฉลาดแสดงรอยมีด ( เป็นลวดลาย) ในใบอุบลนั้นด้วย ประโยค (พยายาม) ที่พอดี ก็เป็นผู้ได้ชื่อว่ามีศิลปะสำเร็จทำงานใน ตำแหน่งทั้งหลาย ( ที่ต้องใช้ศิลปะ ) เช่นนั้นย่อมได้ลาภ ฉันใด อนึ่ง ( อุปมาเหมือนพระราชาทรงประกาศว่า" ผู้ใดนำใยแมลงมุมยาว ประมาณ ๔ วามา ( ถวาย ) ได้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ๔,๐๐๐ (เหรียญ) * ที่แปลทับศัพท์ว่า ใบอุบล ไม่แปลเป็นไทยว่าใบบัว เพราะคำว่า บัว ในภาษาไทยเป็น คำรวม หมายถึงอุบลก็ได้ ปทุมก็ได้ แต่ในภาษาบาลี อุบล กับ ปทุม ไม่ใช่บัวพันธุ์ เดียวกัน อุบลนั้นได้แก่บัวสาย ปทุมได้แก่บัวก้าน ที่เราเรียกว่าบัวหลวง ถ้าสีขาวเรียก บุณฑริก เพราะฉะนั้น จึงแปลทับศัพท์ไว้เพื่อให้ทราบชนิดของมัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More