อาหารแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์และวิริยสัมโพชฌงค์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 112
หน้าที่ 112 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้มีการอธิบายถึงอาหารแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์และวิริยสัมโพชฌงค์ โดยกล่าวถึงความสำคัญของการทำโยนิโสมนสิการในธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างและนำไปสู่การบรรลุผลที่ดีในทางพระพุทธศาสนา และการพัฒนาศักยภาพของสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วให้เจริญอย่างเต็มที่ ซึ่งมีการเชื่อมโยงถึง ธรรมที่หยาบและประณีต รวมถึงธาตุต่างๆ ที่สำคัญในการกระทำและพัฒนาจิตใจ ก็มีการยกตัวอย่างจากพระสูตรเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้.

หัวข้อประเด็น

-ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
-วิริยสัมโพชฌงค์
-โยนิโสมนสิการ
-การเจริญสัมโพชฌงค์
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 110 ฝุ่นโปรยลงไปที่ไฟนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจก่อไฟน้อย หนึ่ง (นั้น) ให้โพลงขึ้นได้หรือไม่ "ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ได้ พระพุทธเจ้าข้า " ดังนี้ [อาหารแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์] ก็ในอธิการนี้ พึงทราบการเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีธัมมวิจย สัมโพชฌงค์เป็นต้นโดยเนื่องด้วยธรรมอันเป็นอาหารของโพชฌงค์นั้นๆ จริง อยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า " มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่หยาบและประณีต ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบ ด้วยดำและขาว การทำโยนิโสมนสิการให้มากในธรรมเหล่านี้ เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อภัยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว บ้าง " ดังนี้" [อาหารแห่งวิริยสัมโพชฌงค์] นัยเดียวกัน ตรัสว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อารัมภธาตุ (ธาตุคือความคิดริเริ่ม ) นิกกมธาตุ (ธาตุคือความลงมือทำ ) ปรักกมธาตุ (ธาตุคือความบากบั่นไม่ท้อถอย ) การทำโยนิโสนมนสิการ ให้มากในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัม โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งวิริย สัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง " ดังนี้ ๑. สิ มหาวาร ๑๕/๑๓๐) ๒. ส้ มหาวาร ๑๕/๘๓)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More