ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 30
ปะรำใหญ่ที่ข้างประตูบริเวณแล้ว มาฟังธรรมกันทุกวัน พระเถระเอา
สูตรที่พระจุฬาภัยปริวัตรในกลางคืน มากล่าว ( สอบ ) ในกลางวัน
( ไม่มีผิด ) เรื่อยๆ ไปจนจบ ( พระสูตร ) แล้ว (คงจะสังเกตเห็นว่า
พระจุฬาภัยมีปฏิภาณสูงกว่าตน จึงวันหนึ่งเข้าไป ) นั่งบนเสื่อ ใกล้ๆ
พระอภัยเถระกล่าวว่า " อาวุโส ท่านจงบอกกรรมฐานแก่ฉันด้วยเถิด "
พระจุฬาภัยจึงว่า " พระคุณท่านพูดอะไร เจ้าข้า กรรมฐานนั้น ข้าพเจ้า
ก็ฟังมาในสำนักของพระคุณท่านนั่นเอง มิใช่หรือ ข้าพเจ้าจักบอก
กรรมฐานอะไร ( อีก )เล่า ที่พระคุณท่านยังไม่รู้" ทีนั้น พระเถระจึง
กล่าว (ให้ชัดขึ้น) ว่า "อาวุโส อันทางของบุคคลผู้ไปถึงแล้วนั่นเป็น
อย่างหนึ่ง” (ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ก็เพราะ) ทราบกันว่า เวลานั้นพระอภัย
เถระ เป็นพระโสดาบัน
ครั้งนั้น พระจุฬาภัยให้กรรมฐานแก่พระเถระแล้ว ก็ (กลับ)
มาปริวัตรธรรมที่โลหประสาท (กรุงอนุราธปุระ) (ต่อมา) ได้ยิน
ข่าวว่า พระเถระ ( สำเร็จพระอรหัต ) ปรินิพพานแล้ว ครั้นได้ยิน
( เช่นนั้น ) จึงบอก ( ศิษย์ ให้หยิบจีวรมาให้ ห่มจีวร ( เป็นปริมณฑล)
แล้ว กล่าวสรรเสริญพระเถระ ( ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ) ว่า
๑. มหาฎีกาช่วยเสริมคำว่า ทีแรกนั่งบนตั่ง ( ในฐานเป็นอาจารย์แล้วทีนี้จะขอเป็น
ศิษย์บ้างก็ต้องลด) ลงนั่งบนเสื่อที่พื้น (ให้เสมอกับอาจารย์)
๒. หมายความว่า ผู้ปฏิบัติบรรลุมรรคผลแล้ว ย่อมจะบอกทางปฏิบัติได้ถูกตรงดีกว่า
บอกตามทางปริยัติ
๓. มหาฎีกาว่า ก่อนจะพูดถึงอาจารย์ ห่มจีวรให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อแสดงความ
เคารพยำเกรง