ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 288
ด้วยคำที่เหลือ พระสูตรที่มีอนุสนธิต่างๆ ก็งามในเบื้องต้นด้วย
อนุสนธิแรก งามในเบื้องปลายด้วยอนุสนธิท้าย งามในท่ามกลางด้วย
อนุสนธิที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะมีทั้งคำ
นิทานและคำแสดงเหตุเกิดขึ้น (แห่งพระสูตร ) ชื่อว่างามในท่ามกลาง
เพราะเนื้อความไม่วิปริตไป และเพราะประกอบไปด้วย (คำชี้ ) เหตุ
และอุทาหรณ์ ตามสมควรแก่เวไนยนิกรทั้งหลาย และชื่อว่างามใน
เบื้องปลายด้วยนิคมอันยังความได้ศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ฟังทั้งหลาย
ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น งามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นรากฐานของ
ตน งามในท่ามกลางด้วยสมถวิปัสสนาและมรรคผล งามในเบื้องปลาย
ด้วยพระนิพพาน (ดังนี้) ก็ได้ หรือว่างามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ
งามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค งามในเบื้องปลายด้วยผล
และนิพพาน หรืองามในเบื้องต้นด้วยพุทธสุโพธิตา (ความตรัสรู้ดี
แห่งพระพุทธเจ้า ) งามในท่ามกลางด้วยธัมมสุธัมมตา ( ความเป็น
ธรรมดีแห่งพระธรรม ) งามในเบื้องปลายด้วยสังฆสุปฏิปัตติ (ความ
ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ) หรืองามในเบื้องต้นด้วยอภิสัมโพธิงามใน
ท่ามกลางด้วยปัจเจกสัมโพธิงามในเบื้องปลายด้วยสาวกโพธิ อัน
บุคคลผู้ได้ฟังศาสนธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติแล้วเพื่อความเป็นอย่างนั้นจะพึง
* สูตรหนึ่งหรือเรื่องหนึ่ง ย่อมมีข้อความเป็นท่อนๆ เรียงต่อกันไป จนกว่าจะจบสูตร
หรือจบเรื่อง น้อยท่อนบ้าง มากท่อนบ้าง ความท่อนหนึ่งนั้นแหละเรียกว่า อนุสนธิหนึ่ง
นิทาน คือคำขึ้นต้นสูตร บอกกาลที่แสดง สถานที่ๆ แสดง ง ผู้แสดง และบริษัท
คือผู้รับฟัง เป็นอาทิ
นิคม คือคำท้ายสูตร หรือสรุปเรื่องที่กล่าวมา เพื่อให้ผู้ตระหนักก่อนจะจบ