ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 93
ที่ (ดิน ) ที่เขาไถแล้วหรือในที่วงกลมแห่งลานนวดข้าว ย่อมเกิดขึ้น
ได้แก่พระโยคาวจรผู้มี (ภาวนามัย) บุญ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
(แห่งภาวนา) เห็นปานนั้น ดุจพระมัลลกเถระ
ได้ยินว่า เมื่อท่านองค์นั้น ( เพ่ง ) ดูที่ (ดิน) ที่เขาไถแล้ว
นิมิตขนาดเท่าที่ ( ที่ดูเห็น ) นั้นได้เกิดขึ้น ท่านขยายนิมิตนั้น
ยังปัญจกฌานให้เกิดแล้วเจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน ได้บรรลุ
พระอรหัต
ส่วนพระโยคาวจรผู้ใดมิได้ทำบุญญาธิการไว้อย่างนั้น พระ
โยควจรผู้นั้นอย่าพึงทำกรรมฐานวิธีที่เรียนมาในสำนักของอาจารย์ให้
ผิดไป เว้นกสิณโทษ ๔ ประการเสีย แต่ง (วง) กสิณขึ้นเถิด
ก็โทษแห่งปฐวีกสิณมี ๔ เนื่องด้วยความปนกันแห่งดินสีเขียว ดิน
สีเหลือง ดินสีแดง และดินสีขาว” เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจร
อย่าถือเอาดิน ( เหนียว ) อันมีสี ( เป็นโทษ ) มีสีเขียวเป็นอาทิ
จึงแต่ง (วง) กสิณด้วยดิน (เหนียว) มีสี (ผ่อง) ดังสีอรุณ เช่นกับ
ดินในท้องคงคา” ก็แล (วง ) กสิณนั้นไม่ควรแต่งในที่เป็นที่สัญจร
ไปมาแห่งอนุปสัมบันทั้งหลายมีสามเณรเป็นต้นในกลางวิหาร แต่ควร
แต่งในที่มิดชิดทางท้ายวิหาร เป็นเงื้อมเขา หรือบรรณศาลาก็ดี
๑. ตามนัยฎีกาดูเหมือนจะว่า ปนกันโดยนำดินต่างสีมาปะติดกันเข้ากลายเป็นดินหลายสี
ก็ดี ปนกันโดยนำดินต่างสีมาคลุกขยำเข้ากันกลายเป็นดินสีอะไรไปอีกก็ดี
๒. มหาฎีกาท่านว่า ท่านได้ทราบมาว่า ในสีหลทวีปมีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อ โรวนคงคา
ดินทางตลิ่งพังของแม่น้ำนั้นเป็นดินสี (ผ่อง) ดังสีอรุณ คำที่ว่านี้ หมายเอาดินใน
แม่น้ำนั้น (หาใช่แม่คงคาในชมพูทวีปไม่)