ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 237
ขึ้นแล้ว ยังมนสิการให้เป็นไปว่า อฏฐิก ปฏิกูล อฏฐิก ปฏิกูล
(อัฏฐิกอสุภปฏิกูลๆ ) เถิด
[ลักษณะนิมิตทั้งสองในอัฏฐิกอสุภ
ท่านกล่าวไว้ ( ในอรรถกถา ) ว่า " อุคคหนิมิตก็ดี ปฏิภาคนิมิต
ก็ดี ในกรรมฐานนี้ เป็นเช่นเดียวกันนั่นเอง "คำนั้น ( สำหรับ )
ในกระดูกท่อนเดียวก็ชอบอยู่ แต่ (สำหรับ ) ในร่างกระดูก (ละ)
ความเป็นร่างมีช่องติดอยู่ (ปรากฏ) ในอุคคหนิมิต ความเป็นร่าง
บริบูรณ์ ( ปรากฏ ) ในปฏิภาคนิมิตจึงจะชอบ อนึ่ง แม้ในกระดูก
ท่อนเดียว ในอุคคหนิมิตก็ควรเป็นรูปพิกลน่ากลัว แต่ในปฏิภาคนิมิต
ควรเป็นรูปที่ทำให้ปีติโสมนัสให้เกิด เพราะเป็นนิมิตอันจะนำมาซึ่ง
อุปจาร แต่ว่าในโอกาสนี้ คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านก็
กล่าวให้ช่องไว้เหมือนกันจริงอย่างนั้น ในอรรถกถานั้น แม้จะได้
กล่าวว่า " ในพรหมวิหาร ๔ และในอสุภะ ๑๐ ปฏิภาคนิมิตไม่มี
เพราะในพรหมวิหาร สีมสัมเภท ( ความรวมกันแห่งเขตแดน )
เท่านั้นเป็นนิมิต และในอสุภ ๑๐ เมื่อเห็นความเป็นปฏิกูลจนไม่มีวิกัป
( ข้อแม้ ) แล้วเท่านั้น ก็นับว่าเป็นนิมิต " ดังนี้แล้ว ก็กล่าวติดต่อไป
อีกเลยว่า " นิมิตในอสุภนี้มี ๒ อย่าง คืออุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต
อุคคหนิมิตปรากฏเป็นรูปพิกลดูพิลึก เป็นอารมณ์น่าหวาดกลัว "
ดังนี้เป็นต้นเพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายได้วิจารแล้วกล่าวคำใดไว้
คำนี้นี่แลชอบแล้ว ในโอกาส ( ที่กล่าวถึงนิมิตทั้ง ๒ ในอัฏฐิกอสุภ ) นี้
เออก็เรื่องต่างๆ มีเรื่องร่างกายของหญิง (คน ๑) ทั้งหมดปรากฏเป็น