ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 258
สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเรา
ยิ่งเราได้รู้ยิ่งแล้ว และสิ่งที่ควรเจริญ
เราได้เจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราก็ได้ละแล้ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ นะพราหมณ์
อีกนัยหนึ่ง พระองค์ตรัสรู้โดยชอบ และโดยพระองค์เอง ซึ่งธรรม
ทั้งปวง โดยยกขึ้นเอาทีละบทดังนี้ก็ได้ว่าจักษุเป็นทุกขสัจ ตัณหา
อันมีมาแต่ภพก่อน ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิด โดยความเป็นตัวเหตุที่เป็น
มูลแห่งจักษุนั้น เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุ และจักษุ
สมุทัยทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ ปฏิปทาที่เป็นเหตุรู้นิโรธเป็นมรรคสัจ
ในโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมนะ ก็นัยนี้ อายตนะ ๖ มีรูป
เป็นต้น หมวดวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้นผัสสะ ๖ มีจักขุ-
สัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสชาเวทนาเป็นต้น สัญญา ๖
มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น หมวดตัณหา ๖
มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้นขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ , อนุสติ ๑๐ สัญญา ๑๐
โดยมีอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นอายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ ภพ ๕ มีกามภพเป็นต้น” ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น
๑. ข. สุ. ๒๕/๔๔๔ เพราะเหตุที่คาถานิ กล่าวถึงความรู้อริยสัจ แต่ไม่จำแนกกิจไว้
ให้ครบ มหาฎีกาท่านจึงบอกโยชนาว่า จ. ศัพท์ในบท ภาเวตพฺพณุจ นั้นมีอรรถเป็น
อวุตตสมุจจัย คือ ผนวกเอาบทที่มีได้กล่าวไว้เข้ามาด้วย เพราะเหตุนั้น ด้วย จ ศัพท์
นั้น พึงทราบว่ากินความถึง สัจฉิกาตัพพะด้วย
๒. มหาฎีกาขยายความว่า ภพ ๕ นั้น คือ ภพ ๓ มีกามภพเป็นต้น (คือกามภพ รูปภพ
อรูปภพ) หมวด ๑ ภพ ๓ มีสัญญีภพเป็นต้น (คือสัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญี
นาสัญญีภพป หมวด ๑ ภพ ๓ มีเอกโวการภพเป็นต้น (คือเอกโวการภพ-ภพของสัตว์
ทีมีขันธ์ ๑ จตุโวการภพ-ภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ปัญจโวการภพ-ภพของสัตว์ที่มีขันธ์
ครบ ๕) หมวด ๑ จึงรวมเป็น 8