ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 233
หรือเสือกัด (จนตัวขาดออกจากกัน) บ้าง เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจร
พึงไปสู่สถานที่เห็นปานนั้น ถ้าอสุภนั้นแม้ ( ขาดเป็นท่อน) ตก ( เรีย)
อยู่ต่างทิศกัน (แต่ ) มาสู่คลอง ( จักษุเดียวกัน ) ได้ด้วยอาวัชชนะเดียวไซร้
มาได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่มา ก็อย่าจับ (เอามารวมกัน )
ด้วยมือตนเอง เพราะจับต้องเข้าจะชินไปเสีย เพราะเหตุนั้น จึงควร
ใช้คนวัดหรือสมณุเทศหรือใครๆ อื่นก็ได้ ให้ทำ (การเก็บมารวม )
ไว้ในที่เดียวกัน เมื่อ ( หาคน ) ไม่ได้ จึงใช้ไม้ซ่าวหรือไม้เท้าเขี่ย
เข้ามา ( รวมกัน )ไว้ระหว่าง (ห่างกันสัก) องคุลี ๑ ครั้นเขี่ยเข้ามา
(รวมกัน ) อย่างนั้นแล้ว จึงยังมนสิการให้เป็นไปว่า " วิจฺฉิทฺทก์
ปฏิกูล วิจนิทฺทก์ ปฏิกูล (วิจฉัททกอสุภปฏิกูล ๆ ) " อุคคหนิมิต
ในกรรมฐานนั้น ยังปรากฏเป็นร่างคล้ายกับว่าขาดกลางอยู่ ต่อถึง
ปฏิภาคนิมิตจึงปรากฏเป็นร่างเต็ม
๕. วิกขายตกอสุภกรรมฐาน
ในวิกขายตกอสุภ พึงยังมนสิการ ให้เป็นไปว่า วิกขายตก ปฏิกูล
วิกขายตก ปฏิกูล ( วิกขายตกอสุภปฏิกูลๆ ) ส่วนอุคคหนิมิตใน
กรรมฐานนี้ ก็ปรากฏเป็นร่างคล้ายกับร่างถูกสัตว์กัดกะบ่อนกะแบ่น
นั่นเอง ปฏิภาคนิมิตจึงปรากฏเป็นร่างบริบูรณ์แท้
๖. วิกขิตตกอสุภกรรมฐาน
พระโยคาวจรจึงใช้คนให้ทำ ( การเก็บ ) หรือทำเอง ( โดยใช้
ไม้เท้าเขี่ย ) แม้ซึ่งวิกขิตตกอสุภ (เข้ามารวมกัน ) ให้มีระหว่าง
มหาฎีกาว่า ที่ให้ไว้ระหว่างนั้น เพื่อให้ปรากฏความเป็นวิจนิททกอสุภ