วิสุทธิมรรคแปล: บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 293
หน้าที่ 293 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับการอธิบายความหมายของคำว่า 'บริบูรณ์สิ้นเชิง' และ 'บริสุทธิ์' ในบริบทของธรรมที่ไม่มีโทษและการประกอบด้วยธรรมขันธ์ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเล่าเรียนและการปฏิบัติธรรม ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของการตัดออกจากอุปกิเลสและการมีความกระจ่างในอาคม พูดถึงความบริสุทธิ์ของปริยัติธรรมและบทบาทในการประกาศพรหมจรรย์ที่แท้จริง การเรียนรู้ปริยัติธรรมจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติหายจากความงมงายและไร้ซึ่งความวิปลาสในศาสนา โดยเน้นย้ำถึงการศึกษาในทางที่ถูกต้องและการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-บริบูรณ์สิ้นเชิง
-ความบริสุทธิ์
-ธรรมขันธ์ 5
-ปริยัติธรรม
-การเล่าเรียนและปฏิบัติ
-สวากขาตะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 291 (บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง] ชื่อว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะความเป็นธรรมเต็มเปี่ยมทั่วถึง โดยที่ไม่มีข้อที่จะต้องเติมเข้า ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะความเป็นธรรม หาโทษมิได้ โดยที่ไม่มีข้อที่จะต้องตัดออก [ความหมายอีกนัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะมีประสบการณ์ในอธิคม (ปฏิ เวธ ) ด้วยปฏิบัติ ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะมีความกระจ่างในอาคม ( ปริยัติ ) ด้วยการเล่าเรียน ชื่อว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบ ด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การถอนออก ( จากวัฏฏทุกข์ ) และ เพราะไม่มีความใยดีในโลกามิส แล ปริยัติธรรม ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ด้วยประการ ฉะนี้ [ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตะอีกนัยหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง ปริยัติธรรมนั้น ชื่อว่า ตรัสด้วยดี เพราะไม่มี อรรถวิปลาส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ สวากขาตะ (ตรัสดี) เหมือน อย่างอรรถแห่งธรรมของพวกเจ้าลัทธิอื่น จัดว่าถึงความวิปลาส เพราะ ( | * หมายความว่า พรหมจรรย์นี้มีสารัตถะ ปฏิบัติไปไม่ได้ผล มีปฏิเวธประจักษ์อยู่ การ เล่าเรียนปริยัติเล่า ก็หาโทษมิได้ ยิ่งเรียนยิ่งกระจ่างหายโง่หายหลง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More