วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - สัมปยุตในสมาธิ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 5
หน้าที่ 5 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้สำรวจถึงประเภทของสมาธิในวิสุทธิมรรค แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น สมาธิที่สัมปยุตด้วยปีติและนิปปีติกสมาธิ นอกจากนี้ ยังจำแนกสมาธิตามประสบการณ์และความรู้ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาจิต โดยมีการแบ่งประเภทต่างๆ อาทิเช่น อุเบกขาและวิตกวิจาร รวมถึงการอธิบายความหมายของเอกัคคตาแห่งจิตที่เกิดจากการปฏิบัติทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสมาธิ
-การแบ่งประเภทตามอารมณ์
-ความสำคัญของการปฏิบัติ
-เอกัคคตาแห่งจิต
-การจัดแบ่งตามอานุภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - - หน้าที่ 4 สัมปยุตด้วยปีติ) และนิปปีติกสมาธิ (สมาธิไม่สัมปยุตด้วยปีติ ) และโดยบังคับแห่งสมาธิที่เป็นสุขสหคตะ (สหรคตด้วยสุข ) และ เป็น อุเบกขาสหคตะ (สหรคตด้วยอุเบกขา) เป็น ๓ โดยจัดเป็นอย่างทราม อย่างกลาง อย่างประณีต เช่นเดียวกัน โดยจัดตามองค์คือวิตกวิจาร มีสวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิยังมีวิตกวิจาร ) เป็นต้น โดยจัด ตามธรรมที่สรหคตมีปีติสหรคตสมาธิ (สมาธิสหรคตด้วยปีติ) เป็นต้น และโดยจัด (ตามคุณานุภาพ) เป็นปริตตะ มหัคคตะ และอัปปมาณะ เป็น ๔ โดยจำแนกตามความปฏิบัติและความรู้ มีทุกข์ปฏิปทาทันธา ภิญญสมาธิเป็นต้น เช่นเดียวกัน โดยจําแนกตามอานุภาพและ อารมณ์ มีปริตตปริตตารมณ์สมาธิเป็นต้น โดยเป็นองค์แห่งจตุกฌาน โดยจำแนกตามฝ่ายมีหานภาคิยสมาธิเป็นต้น โดยจำแนกตามภูมิมี กามาวจรสมาธิเป็นต้น และโดยจำแนกตามอิทธิบาทที่เป็นอธิบดี เป็น ๕ โดยเป็นองค์แห่งปัญจกฌานในปัญจกนัย แล้ว ในสมาธิเหล่านั้น สมาธิส่วนที่เป็นอย่างเดียว มีความตื่นอยู่ (ทุกะ ( สมาธิหมวด ๒ ) ที่ ๑ อรรถาธิบายในสมาธิส่วนที่เป็น ๒ พึงทราบดังต่อไปนี้ เอกัค คตาแห่งจิต ที่พระโยคาวจรได้ด้วยอำนาจธรรมเหล่านี้ คือ อนุสสติ ฐาน 5 มรณสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ก็ดี เอกัคคตาในส่วนเบื้องต้นแห่งอัปปนาสมาธิทั้งหลายก็ดี อันใด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More