วิสุทธิมรรค: การเจริญเทวตานุสสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 318
หน้าที่ 318 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความหมายและวิธีการเจริญเทวตานุสสติ โดยเชื่อมโยงถึงคุณธรรมที่มีอยู่ในตัวเองและในเทวดา ที่จำเป็นต้องมีศรัทธากล้าในการทำความดี บทความยังกล่าวถึงความสำคัญของการตั้งเทวดาเป็นพยาน และการระลึกถึงคุณธรรมทั้งหลาย เช่น ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เพื่อพัฒนาจิตใจให้สูงส่งขึ้น และมีความสงบหลีกเลี่ยงจากราคะ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของเทวตานุสสติ
-คุณธรรมที่จำเป็น
-เสนาสนะในการปฏิบัติ
-การตั้งเทวดาเป็นพยาน
-ศรัทธากับการเจริญจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 316 [เทวตานุสสติ] ส่วนว่า พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญเทวตานุสสติ ต้องเป็น ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น อัน (เกิด) ขึ้นมาอย่างดี ด้วยอำนาจอริยมรรคแล้ว แต่นั้น พึงไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ (ใน เสนาสนะอันสมควร )แล้ว ตั้งเทวดาไว้ในฐานะแห่งพยาน ระลึกถึง คุณมีศรัทธาเป็นต้นของตนอย่างนี้ว่า " เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์ เหล่ายามา เหล่าดุสิต เหล่านิมมานรดี เหล่า ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีอยู่ เทวดาจำพวกรูปพรหมก็มีอยู่ เทวดาที่ชั้นสูง กว่าจำพวกรูปพรหมนั้นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาอย่าง ใด จุติจากภพนี้แล้ว ( ไป ) เกิดในภพนั้นๆ ศรัทธาอย่างนั้น แม้ของ เราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลอย่างใดสุตะอย่างใด จาคะ อย่างใด ปัญญาอย่างใด จุติจากภพนี้แล้ว ( ไป ) เกิดในภพนั้นๆ ศีลอย่างนั้น สุตะอย่างนั้นจาคะอย่างนั้น ปัญญาอย่างนั้น แม้ของเรา ก็มีอยู่ " ดังนี้ แต่ในพระสูตรตรัส (สองฝ่ายเสมอกัน ) ว่า " ดูกร มหานาม ในสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของตนและของเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นด้วย ในสมัยนั้น จิต ของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุมเลย..." ดังนี้ ตรัส (สองฝ่าย เสมอกันเช่นนั้น ) ก็จริง แต่ที่แท้ บัณฑิตพึงทราบว่าคำ ( ในพระสูตร ) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงคุณของเทวดา ที่พึงตั้งไว้ใน ฐานแห่งพยานทั้งหลาย เสมอกันกับคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นของ * อง.ฉกุก. ๒๒/๓๒๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More