วิสุทธิมรรค - การบรรลุทุติยฌาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 164
หน้าที่ 164 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการเข้าใจทุติยฌานในวิสุทธิมรรค โดยเริ่มจากการปล่อยวางปฐมฌานและเฝ้าสติเพื่อมุ่งสู่ทุติยฌาน ดังนั้น พระโยคาวจรจะต้องมีความปราณีตในจิตใจและมุ่งมั่นในการทำโยคะเพื่อบรรลุผลสูงสุด การทำสมาธิที่มีสติสัมปชัญญะเข้มข้นนั้นจะเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่สภาวะที่สงบและมีความสุขที่แท้จริงโดยไม่มีวิตกกังวลในจิตใจ ต่อมา จิตจะต้องมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอารมณ์จากองค์หยาบไปสู่ความละเอียด เพื่อให้สามารถบรรลุถึงสภาวะที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการพัฒนาก้าวสู่ทุติยฌานที่สอง

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาจิตจากปฐมฌานสู่ทุติยฌาน
-ความสำคัญของสติสัมปชัญญะ
-การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อการเข้าสู่ฌาน
-การวิเคราะห์องค์ของฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 162 เพราะว่าชวนะทั้งหลาย อันเป็นลำดับแต่อาวัชชนะในอาวัชชนวสีนั้น ก็คือชวนะในปัจจเวกขณนันแล [ทุติยฌาน] ก็แลพระโยคาวจรผู้บำเพ็ญวสีในวสี ๕ นี้ ออกจากปฐมฌาน อันคล่องแคล่วแล้ว เห็นโทษในปฐมฌานนั้นว่า สมาบัตินี้มีข้าศึก คือนิวรณ์อยู่ใกล้ และว่าสมาบัตินี้ยังมีองค์ทรามกำลัง เพราะความ ที่วิตกวิจารยังเป็นธรรมหยาบ ดังนี้แล้ว พึงทำในใจถึงทุติยฌานโดย ว่าเป็นธรรมละเอียด ปล่อยวางความพอใจในปฐมฌาน ทำโยคะ (ความเพียร ) เพื่อบรรลุทุติยฌาน (ต่อไป) ครั้นเมื่อพระโยคาวจรนั้นออกจากปฐมฌานแล้ว มีสติสัม ปชัญญะปัจจเวกขณ์องค์ฌานทั้งหลายอยู่ วิตกวิจารปรากฏโดยความ เป็นองค์หยาบ ปีติ สุข และเอกัคคตาปรากฏโดยความเป็นองค์ ละเอียดในกาลใด ในกาลนั้นเมื่อเธอทำในใจแล้วๆ เล่าๆ ซึ่งนิมิต นั้นนั่นแล โดยบริกรรมว่า ปฐวี ปฐวี ดังนี้ เพื่อละองค์หยาบ และ เพื่อได้องค์ละเอียดอยู่ ขณะที่ปรากฏว่าทุติยฌานจักเกิดขึ้น มโน ทวารวัชชนะย่อมตัดภวังค์ทำปฐวีกสิณนั่นเองเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ต่อ นั้นชวนะ ๔ หรือ ๕ ดวงย่อมแล่นไปในอารมณ์นั้นแล ซึ่งดวงหนึ่ง ในที่สุด เป็นรูปาวจรจิตมีทุติยฌานดวงที่เหลือเป็นกามาวจรจิต มีประการดังกล่าวแล้ว ( ในตอนปฐมฌาน มีบริกรรมจิตเป็นต้น ) แล ก็ด้วยภาวนานุกรมเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้นชื่อว่าเข้าถึง ฌานที่ ๒ อันผ่องใสภายใน มีความที่ใจเป็นหนึ่ง ไม่มีวิตก ไม่มี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More