วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 71
หน้าที่ 71 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงกรรมฐานต่าง ๆ และนิมิตในการดูและฟัง ข้อความบางช่วงชี้ให้เห็นถึงวิธีการปฏิบัติตามกรรมฐานและความสำคัญของการเข้าใจนิมิตเพื่อการทำสมาธิ โดยเฉพาะการวิเคราะห์นิมิตต่าง ๆ ที่ช่วยให้บรรลุผลในทางจิตใจ และในกรรมฐาน ๔๐ เน้นที่การปฏิบัติเพื่อตระหนักในอุเบกขาและการบรรลุระดับที่สูงขึ้น ด้วยแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-กรรมฐาน ๑๕
-นิมิตในการปฏิบัติ
-อุเบกขาพรหมวิหาร
-อารูปและการบรรลุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 69 ทางดู ทางกระทบถูก และทางฟัง ใน ๓ ทางนั้น กรรมฐาน ๑๕ คือ กสิณเว้นวาโยกสิณ เหลือ 8 อสุภ ๑๐ นี้ต้องถือเอา (นิมิต) ทางดู หมายความว่า นิมิตของกรรมฐานเหล่านั้น เบื้องแรกต้องดูด้วยตา (เป็นบริกรรมนิมิต) แล้วจึงถือเอา (เป็นอุคคหนิมิต) ได้ ในกายคตาสติ อารมณ์ของกายคตาสตินั้น ถือเอาได้ทั้งทางดูและ ทางฟัง ดังนี้ คือ ส่วนที่เป็นตจปัญจกะ ๑ ถือเอาทางดู ส่วนที่เหลือ ถือเอาทางฟัง อานาปานสติ ถือเอาทางกระทบถูก วาโยกสิณ ถือเอาได้ทั้งทางเห็นและทางกระทบถูก ที่เหลือ ๑๘ ถือเอาทางฟัง แต่ในกรรมฐาน ๔๐ นั้น กรรมฐานคือ อุเบกขาพรหมวิหาร (และ) อารูป ๔ นี้ พระโยคาวจรผู้เป็นอาทิกัมมิกะ ไม่ควรถือเอา ที่เหลือ ๓๕ จึงควรถือเอา แล บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยการถือเอา (นิมิต ) ดังนี้ [ปจฺจยโต] บทว่า " โดยเป็นปัจจัย " มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐาน เหล่านี้ กสิณเว้นอากาสกสิณ เหลือ 8 ย่อมเป็นปัจจัยแห่ง อารูป ทั้งหลาย ลาย กสิณทั้ง ๑๐ เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา พรหมวิหาร ๓ เป็น ปัจจัยแห่งพรหมวิหารที่ ๔ อรูปชั้นต่ำๆ เป็นปัจจัยแห่งอรูปชั้น มหาฎีกาว่า ผู้เริ่มทำกรรมฐานจะไปคว้าเอา อุเบกขากับอรูป ๔ มาเริ่มทำหาได้ไม่ เพราะอุเบกขานั้นต้องบรรลุพรหมวิหาร ๔ ๓ ข้างต้นก่อนจึงจะทำให้เกิดขึ้นได้ และอารูป เล่าก็ต้องบรรลุรูปาวจรจตุตถฌาน ในกสิณก่อน จึงจะทำให้เกิดขึ้นได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More