ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ -
- หน้าที่ 9
ย่อมเป็นช้า ของผู้ทำอัปปนาโกศลให้ถึงพร้อม ย่อมเป็นเร็ว อนึ่ง
ประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาและอวิชชา และแม้ด้วยสามารถแห่งความสั่งสมที่เคยทำมา
ในสมถะและวิปัสสนา แท้จริง ปฏิปทาของผู้ถูกตัณหาครอบงำ
ย่อมเป็นการลำบาก ของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำ ย่อมเป็นการสะดวก
และอภิญญาของผู้ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมเป็นช้า ของผู้ไม่ถูกอวิชชา
ครอบงำย่อมเป็นเร็ว อนึ่ง ผู้ใดมิได้ทำความสั่งสมมาในสมถะ
ปฏิปทาของผู้นั้นย่อมเป็นการลำบาก ของผู้มีความสั่งสมได้ทำไว้ย่อม
เป็นการสะดวก ส่วนผู้ใดมิได้ทำความสั่งสมมาในวิปัสสนา อภิญญา
ของผู้นั้นย่อมเป็นช้า ของผู้มีความสั่งสมได้ทำไว้ย่อมเป็นเร็ว อนึ่ง
เล่า ประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นพึงทราบด้วยอำนาจแห่ง
กิเลสและอินทรีย์ด้วย แท้จริง ปฏิปทาของผู้มีกิเลสกล้า แต่อินทรีย์
อ่อน ย่อมเป็นการลำบาก ทั้งอภิญญาก็เป็นช้า แต่อภิญญาของผู้มี
อินทรีย์แก่กล้าย่อมเป็นเร็ว ส่วนปฏิปทาของผู้มีกิเลสอ่อน และ
อินทรีย์อ่อน ย่อมเป็นการสะดวก แต่อภิญญาเป็นช้า แต่ว่าอภิญญา
ของผู้มีอินทรีย์กล้าย่อมเป็นเร็ว ดังนี้ ในปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้
บุคคลใดได้สมาธิด้วยปฏิปทาลำบาก และด้วยอภิญญาช้า สมาธินั้น
ของบุคคลนั้นเรียกว่า ทุกขาปฏิปโท ทนุธาภิญโญ ด้วยประการฉะนี้
นัยนี้จึงกล่าวแม้ในสมาธิ ๓ ที่เหลือ อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔
โดยจำแนกตามความปฏิบัติและความรู้ มีทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา-
แปลตามมหาฎีกาซึ่งแก้ไว้ว่า อกตาธิกาโร ภวนฺตเร อกตปริจโย