สมาธิและฌานในวิสุทธิมรรค ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 12
หน้าที่ 12 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมาธิและฌานในวิสุทธิมรรค โดยบรรยายความหมายของฌาน ๔ รวมถึงทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน พร้อมกับอธิบายการประกอบสมาธิและการจัดประเภทสมาธิ ทั้งหานภาคิยะ ฐิติภาคิยะ วิเสสภาคิยะ และนิพเพธภาคิยะ วิเคราะห์การเข้าถึงความจริงและอริยสัจผ่านสมาธิที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการฝึกปฏิบัติทางจิตใจ สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-สมาธิภายในพระพุทธศาสนา
-ฌานและองค์ของฌาน
-ประเภทของสมาธิ
-การเข้าถึงนิพพาน
-วิปัสสนาและการพัฒนาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 11 และสมาธิอันข่มนิวรณ์ได้แล้ว ต่อนั้น ทุติยฌาน วิตก วิจาร สงบไป เหลือองค์ ๓ ต่อนั้น ตติยฌาน ปีติคลายไป เหลือองค์ ๒ ต่อนั้น จตุตถฌาน ละสุขเสีย เหลือองค์ ๒ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันประกอบ ด้วยอุเบกขาเวทนา สมาธิ ๔ เป็นองค์แห่งฌาน ๔ นี้ ดังนี้ อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔ โดยเป็นองค์แห่งจตุกฌาน (จตุกกะ ที่ ๔ ] สมาธิที่เป็นหานภาคิยะ (เป็นทางฝ่ายเสื่อม) ก็มี เป็นจิต “ภาคิยะ (เป็นไปทางฝ่ายทรงตัวอยู่) ก็มี เป็นวิเสสภาคิยะ ( เป็นไป ทางฝ่ายวิเศษขึ้น) ก็มี เป็นนิพเพธภาคิยะ (เป็นไปทางฝ่ายจะให้รู้ แจ้งแทงตลอดอริยสัจ) ก็มี ในสมาธิ 4 นั้น ความที่สมาธิเป็นหานภาคิยะ พึงทราบ (ว่าย่อมเป็น) ด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้นมาแห่งปัจจนึกธรรม ความที่ สมาธิเป็นฐิติภาคิยะ พึงทราบ (ว่าย่อมเป็น) ด้วยอำนาจความหยุด อยู่แห่งสติเป็นสภาพควรแก่สมาธินั้น ความที่สมาธิเป็นวิเสสภาคิยะ พึงทราบ ( ว่าย่อมเป็น ) ด้วยอำนาจความได้บรรลุธรรมวิเศษเลื่อนชั้น ขึ้นไป และความที่สมาธิเป็นนิพเพธภาคิยะ พึงทราบ (ว่าย่อมเป็น) ด้วยอำนาจความผุดขึ้นแห่งสัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยนิพพิทา ดังท่านกล่าวว่า สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยกามเกิดขึ้น ๑. แปลโดยนัยมหาฎีกาซึ่งแก้ไว้ว่า ตทนฺธมฺมตายาติ ตหนุรูปตาภูตาย สติยา ๒. คือว่าเป็นวิปัสสนาขึ้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More