ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 217
แล้วทำความพินาศให้ เพราะเหตุนั้นจึงเลี่ยงเสียหน่อยหนึ่ง ยืนมิให้ตาม
ลม (ตรง) นัก
แม้เมื่อยืนอย่างนี้ ก็พึงยืนในที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ค่อนไป
ทางเท้า ไม่ค่อนไปทางศีรษะ เพราะว่าเมื่อยืนในที่ไกลนัก อารมณ์จะ
ไม่ชัด ใกล้นัก ความกลัวจะเกิดขึ้น เมื่อยืนค่อนไปทางเท้าก็ดี ค่อน
ทางไปศีรษะก็ดี อสุภทั้งหมดจะไม่ปรากฏเท่ากัน เพราะเหตุนั้น จึง
ยืนในที่ตรงส่วนกลางตัว ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก อันเป็นที่ผาสุกสำหรับ
ผู้จะดู ( อสุภ )
(วิธีกำหนดจำนิมิตต่างๆ โดยรอบอสุภนั้น
พระโยคาวจรผู้ยืนอยู่อย่างนั้นแล้ว จึงกำหนดจำนิมิตทั้งหลาย
โดยรอบ ที่กล่าวมาแล้วว่า " เธอย่อมทำก้อนหินก็ดี ฯลฯ ไม้เถาก็ดี
(อันมีอยู่ ) ในที่แห่งนั้นให้เป็นนิมิตร่วม " ดังนี้ (ต่อไป) นี้ เป็นวิธี
กำหนดจำในข้อนั้น
ถ้าโดยรอบ (อสุภ ) นิมิตนั้น ก้อนหินมีอยู่ในคลองจักษุไซร้
พึงกำหนดดูก้อนหินนั้นว่า " หินก้อนนี้สูงหรือเตี้ย เล็กหรือใหญ่
ดำหรือขาว ยาวหรือกลม " ต่อนั้นจึงสังเกตไว้ว่า " ในโอกาสตรงนี้
นั่นเป็นก้อนหิน นี่เป็นอสุภนิมิต ชื่อสุภนิมิต นั่นก้อนหิน "
ถ้าจอมปลวกมีอยู่ แม้จอมปลวกนั้นพึงก็กำหนดดูว่า " สูงหรือ
เตี้ย ย่อมหรือใหญ่ แดง (ซ้ำ) ดำหรือขาว สั้น ยาว หรือกลม
* หน้าคำว่า ดำ (กาโฬ) ในฉบับพม่ามีคำว่า แดง (ตมโพ) น่าจะถูก เพราะหิน
สีแดงนั้นมีอยู่ ตมฺพนั้นเป็นแดงช้ำ คือ แดงเจือดำ