วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - ธัมมานุสสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 289
หน้าที่ 289 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการเจริญธัมมานุสสติ โดยแนะนำให้ผู้ปฏิบัติไปในที่ลับเพื่อระลึกถึงคุณธรรมแห่งพระปริยัติธรรมและพระโลกุตตรธรรม อธิบายถึงคำสอนที่ถูกต้องและความงามของบทพระธรรมที่มีมาตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญธัมมานุสสติ
-คุณค่าของพระปริยัติธรรม
-ความงามในพระสูตร
-การปฏิบัติในที่ลับ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 287 ธัมมานุสสติ แม้พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญธัมมานุสสติ ก็พึงเป็นผู้ ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร ) แล้วระลึกถึงคุณ ทั้งหลายแห่งพระปริยัติธรรมและพระโลกุตตรธรรม 8 (โดยอนุสสรณ ปาฐะ) อย่างนี้ว่า สวากขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ [แก้บท สวากขาโต] ก็แลในบทว่า สุวากฺขาโต นี้ แม้พระปริยัติธรรมก็สงเคราะห์ เข้าด้วย ในบททั้งหลายนอกนี้ ได้แก่พระโลกุตตรธรรมอย่างเดียว ในธรรม ๒ อย่างนั้น (ว่าด้วย) พระปริยัติธรรมก่อน (พระปริยัติ ธรรมนั้น ) ชื่อว่า สุวากฺขาตะ เพราะความเป็นธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย และเพราะความเป็นธรรม ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง [เพราะงามในเบื้องต้น ... ท่ามกลาง ... เบื้องปลาย จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระคาถาใดสักบทหนึ่ง พระคาถานั้น ก็งามในเบื้องต้นด้วยบาทแรกงามในท่ามกลางด้วย บาทที่ ๒ ที่ ๓ งามในเบื้องปลายด้วยบาทท้าย (ทั้งนี้ก็) ) เพราะความ ที่พระธรรมมีความดีอยู่รอบด้าน พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว ก็งามใน เบื้องต้นด้วยคำนิทาน งามในเบื้องปลายด้วยคำนิคม งามในท่ามกลาง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More