การวิเคราะห์กรรมวัฏและวิปากวัฏในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 256
หน้าที่ 256 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการวิเคราะห์กรรมวัฏและวิปากวัฏตามหลักพระพุทธศาสนา โดยระบุถึงองค์ประกอบต่างๆ อย่างอวิชชา สังขาร ตัณหา และอุปาทานที่ส่งผลต่อวิญญาณและเวทนา อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้ง 5 และการมองเห็นธรรมชาติตามหลักปฏิจจสมุบาท ซึ่งสรุปถึงการรู้และการคลายความยินดีในพระพุทธเจ้าเมื่อทรงเข้าใจธรรมได้อย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-กรรมวัฏ
-วิปากวัฏ
-อวิชชา
-สังขาร
-ปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 254 ด้วยถือเอา ( คือกล่าวถึง ) อวิชชา สังขาร ก็เป็นอันถือเอา ( คือกินความถึง ) ตัณหาอุปาทาน ภพ ( ซึ่งเป็นเหตุคือเป็นกิเลสและกรรมด้วยกัน) ด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ จึงจัดเป็นกรรมวัฏในอดีต ธรรม ๕ มี วิญญาณ เป็นต้น ( คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ) จัดเป็นวิปากวัฏในกาลบัดนี้ ด้วยถือเอา (คือกล่าวถึง) ตัณหา อุปาทาน ภพ ก็เป็นอันถือเอา ( คือกินความถึง ) อวิชชา สังขารด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้จึงเป็นกรรมวัฏในกาลบัดนี้ (ด้วย) ธรรม ๕ ประการ นี้ ( คือ วิญญาณ ฯลฯ เวทนา )จัดเป็นวิปากวัฏในกาลต่อไป (ด้วย) เพราะด้วยการกล่าวถึง ชาติ ชรา มรณะ ก็เป็นอันชี้ถึงธรรม ๕ มี วิญญาณเป็นต้น (ซึ่งเป็นธรรมมีชาติชรามรณะเป็นสภาวะ) ธรรม เหล่านั้น โดยอาการจึงเป็น ๒๐ อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น ในระหว่าง สังขารกับวิญญาณ มีสนธิ ๑ ระหว่างเวทนากับตัณหามีสนธิ ๑ ระหว่างภพกับชาติมีสนธิ ๑ ดังนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็น คือทรงรู้ยิ่งเห็นจริง ซึ่งปฏิจจสมุบาท อันมี สังเขป ๔, อัทธา (กาล) ๓ อาการ ๒๐, สนธิ ๓ นั้น โดยอาการทั้งปวงโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่าหยั่งรู้ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ประจักษ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน การกำหนดจับปัจจัย ชื่อว่าธรรมฐิติญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ ทรงรู้ธรรมเหล่านั้นตามจริงด้วยธรรมฐิติญาณนี้แล้ว ทรงหน่ายใน ธรรมเหล่านั้น ทรงคลายความยินดีหลุดพ้นไป ชื่อว่าทรงกำจัด คือซื้อ ทําลาย ซึ่งก๋าทั้งหลายแห่งสังสารจักรอันมีประการดังกล่าวแล้ว เพราะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More