วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 54 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 56
หน้าที่ 56 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเอกสารนี้มีการกล่าวถึงการบ่งชี้จริตและวิธีการที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้กรรมฐานในบุคคลซึ่งมีลักษณะจริตที่หลากหลาย โดยเฉพาะการระบุจริตต่าง ๆ และการเลือกเสนาสนะที่เหมาะสมสำหรับคนราคจริต เช่น เสนาสนะที่มีลักษณะค่อนข้างต่ำต้อยจะไม่เหมาะกับการปฏิบัติ โดยการระบุประเภทของจริตจะช่วยให้เข้าใจว่าบุคคลใดเหมาะสมกับกรรมฐานใดได้ โดยผู้มีเจโตปริยญาณจะรู้เรื่องจริตของอันเตวาสิกได้ดี ในขณะที่อาจารย์ท่านอื่นๆ ต้องอภิปรายถาม-ตอบ เพื่อให้รู้จริตที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-จริตในพระพุทธศาสนา
-การวิเคราะห์สัปปายะ
-กรรมฐานตามลักษณะจริต
-เจโตปริยญาณและการเรียนสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 54 มีอิริยาบถเป็นอาทิ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มี จริตระคนคนเดียวไม่ได้เลยทีเดียวแหละ ส่วนวิธีบอกจริตอันใดที่กล่าว ไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย วิธีบอกจริยานั้นเท่านั้นควรเชื่อถือเป็นสาระ ได้จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ ( ในอรรถกถา) ว่า อาจารย์ผู้ได้เจโต ปริยญาณ รู้จริยา ( ของอันเตวาสิก ) แล้วจึงบอกกรรมฐานให้ อาจารย์ นอกนั้น (ผู้ไม่ได้เจโตปริยญาณ ) จำต้องซักถามอันเตวาสิกเอา ( ให้ รู้จริยาแล้วจึงบอกกรรมฐานให้เขา ) ดังนี้ เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าบุคคล นี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นคนจริตอย่างใดอย่างหนึ่งในจริตที่เหลือ มี โทสจริตเป็นต้นได้ ก็ด้วยเจโตปริยญาณ หรือมิฉะนั้นก็ซักถาม (เจ้าตัว ) บุคคลนั้นเอา จึงจะรู้ ด้วยประการฉะนี้ [สัปปายะของบุคคลจริตต่าง ๆ ] ส่วนวินิจฉัยในปัญหาข้อว่า " และอะไรเป็นสัปปายะของบุคคล จริตอะไร " นั้น พึงทราบต่อไปนี้ (สัปปายะของคนราคจริต สำหรับคนราคจริต อันดับแรก เสนาสนะ เป็นเสนาสนะที่มี ยกพื้นอันมิได้เช็ดล้าง เสนาสนะที่ตั้งอยู่กะพื้นดิน เงื้อมเขาที่มิได้ ตกแต่ง บรรดาเสนาสนะเลวๆ ทั้งหลาย มีกุฏิหญ้าละโรงใบไม้ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เสนาสนะอันเกลื่อนไปด้วยฝุ่นละออง เต็มไปด้วย ( มูล ) ค้างคาว หักๆ พังๆ สูงเกิน หรือไม่ก็เตี้ยเกิน แห้งแล้ง น่าระแวงภัยทางเดินก็ไม่สะอาดและขรุขระ ในเสนาสนะใด แม้เตียงตั่งก็โย้เย้คร่ำคร่า เต็มไปด้วยเรือด คนมองเห็นเสนาสนะใด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More