การทำเภสัชและการดูแลผู้ป่วยในพระธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 27
หน้าที่ 27 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ กล่าวถึงการให้ยาของภิกษุแก่ญาติและการดูแลผู้ป่วยโดยอิงตามหลักพระธรรม ซึ่งเน้นการช่วยเหลือและเข้าใจการเจ็บป่วยในชีวิตประจำวัน การใช้ยาและการดูแลภายใต้บรรทัดฐานของศีลธรรม รวมถึงการดูแลครอบครัวและความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยในแง่จิตใจและร่างกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี การทำเภสัชเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยในการรักษาและมีความสำคัญต่อการแสดงออกถึงความเมตตาในชีวิตของภิกษุ

หัวข้อประเด็น

-การให้ยาแก่ญาติ
-การดูแลผู้ป่วย
-ความรับผิดชอบในครอบครัว
-หลักธรรมในการรักษา
-การทำเภสัชในภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 26 ยาของตนไม่มี ก็ควรแม้แสวงหาด้วยภิกขาจารมาให้ ( ท่าน ) จงได้เถิด แต่สำหรับพี่น้องชายหญิง (เป็นไข้) จึงประกอบยาอันเป็น ของ ๆ เขานั้นแหละให้ (เขา) ถ้า ( ของ ๆ เขา) ไม่มี จึงให้ของ ๆ ตน เป็นของยืม เมื่อ ( หา) ได้ภายหลัง จึงถือเอา ( คืน ) เมื่อ ( หา ) ไม่ได้ ก็อย่าทวงเลย จะทำยา จะให้ยาแก่สามีของพี่น้องหญิงผู้มิใช้ญาติ ย่อมไม่ควร แต่พึ่งให้แก่พี่น้องหญิง บอก (เขา) ให้ให้แก่สามีของเขา นัยแม้ในภริยาของพี่น้องชาย ก็ดุจนัยนี้ ส่วนบุตรทั้งหลายของเขา เป็นญาติของเธอแท้ เพราะฉะนั้น ทำ (ยา) ให้บุตรทั้งหลายของเขา เหล่านั้นย่อมควร [อาพาธปลิโพธ] โรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อาพาธ โรคนั้นมันเบียดเบียนเอา จึงชื่อว่า ปลิโพธ เพราะเหตุนั้น จึงตัดมันเสียด้วยการทำเภสัช แต่ถ้า แม้เมื่อภิกษุทำเภสัช ( รักษาอยู่) สองสามวัน อาพาธไม่สงบไซร้ ก็พึง ติเตียนอัตภาพว่า ข้าไม่ใช้บ่าว ไม่ใช่ลูกจ้างของเจ้า ก็ข้าเลี้ยงเจ้า นี้แหละ จึงได้รับทุกข์ในสังสารวัฏอัน (ยาวนาน) ไม่ปรากฏเงื่อนต้น เงื่อนปลาย (นี้) ดังนี้แล้ว ทำสมณธรรมเถิด [คันถปลิโพธ] การบริหารปริยัติ ชื่อว่า คันถะ การบริหารปริยัตินั้น ย่อม เป็นปลิโพธแก่ภิกษุผู้ขวนขวายอยู่เป็นนิจ ด้วยกิจมีการสาธยายเป็นต้น เป็นปลิโพธแก่ภิกษุผู้ขวนขวายอยู่เป็นนิจ (ผู้ไม่ได้ขวนขวาย) ไม่ เรื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More