ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 157
อัปปนาแล้ว ก็จำต้องขยายในฐานะ ( จุด ) หนึ่งเป็นแน่แท้ เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า " จึงขยาย (ส่วน) ปฏิภาคนิมิตตามที่ได้
ไว้แล้ว "
(ต่อไป ) นี้เป็นนัยในการขยายปฏิภาคนิมิตนั้น พระโยคีนั้น
ไม่พึงขยายนิมิตนั้น โดยทำนองขยายบาตร (ดิน) ทำนองขยายขนม
ทํานองขยายข้าว ทํานองขยายตัวแห่งเถาวัลย์และทำนองขยายผ้า จึง
นึกกำหนด ( ขยาย )ขนาดแห่งนิมิตที่ได้ไว้อย่างไรนั้นว่า (จงขยาย)
ประมาณ ๑ องคุลี ๒ องคุลี ๓ องคุลี ๔ องคุลี ... โดยลำดับ แล้วจึงขยาย
เท่าที่กำหนดไว้ หากมิได้กำหนด (ดังกล่าว) ไม่ควรขยาย เปรียบ
เหมือนชาวนา กำหนดที่ๆ จะพึงไถด้วย (รอย) ไถแล้วจึงไถไปภายใน
ที่กำหนดไว้ ฉะนั้น อนึ่งเหมือนภิกษุทั้งหลายจะผูกสีมา กำหนด
นิมิตทั้งหลายก่อนแล้วจึงผูกภายหลัง ฉะนั้น แต่นั้นเมื่อจะขยาย
(ต่อไป) ก็พึงกำหนดโดยขนาดคืบ ๑ ศอก ๑ เท่าบริเวณด้านหน้า
(แห่งวิหาร ) เท่าแดนวิหาร และแล้ว เท่าแดนหมู่บ้าน แดนนิคม
แดนชนบท แดนราชอาณาเขต และแดนสมุทร หรือ โดยขนาดเท่า
จักรวาล หรือแม้ยิ่งกว่านั้น ก็ขยายไปได้ เปรียบเหมือนลูกหงส์
ตั้งแต่กาลที่ (ขน) ปีกงอกไป (มันหัด) โผไปทีละน้อยๆ กล้าแข็ง
เข้า ก็ ( บิน ) ไปสู่ที่ใกล้พระจันทร์พระอาทิตย์ได้โดยลำดับ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำหนด (ขนาด) แล้วขยายนิมิตไปโดย
นัยที่กล่าวแล้ว ก็ย่อมขยายไปจนเท่าขนาดจักรวาล หรือยิ่งกว่านั้นได้
๑. มหาฎีกาแก้ว่า ชวนหัสโปตกา ลูกหงส์พันธ์ที่บินเร็ว