วิสุทธิมรรค: ปฐมฌานและลักษณะ ๔ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 150
หน้าที่ 150 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงปฐมฌานและลักษณะต่างๆ ของมัน โดยเฉพาะลักษณะ ๔ ของความร่าเริงในฌานจิต ซึ่งประกอบด้วยความไม่แยกจากกันของธรรมต่างๆ, อินทรีย์ที่มีรสเดียวกัน, ความเพียรที่เหมาะสม, และความคล่องตัวของฌานจิต ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่ความงามและคุณค่าของปฐมฌาน ตามที่อาจารย์ได้วิเคราะห์ไว้ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงปฏิปทาวิสุทธิและธรรมอันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในการเข้าถึงความเป็นหนึ่งในจิต.

หัวข้อประเด็น

-ปฐมฌาน
-ลักษณะของปฐมฌาน
-ความร่าเริงในฌาน
-ปฏิปทาวิสุทธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 148 ท่ามกลาง เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าปฐมฌานเป็นคุณมีความงามใน ท่ามกลางด้วย ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ด้วย ( ในข้อว่า ) ความร่าเริง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน (นั้นถามว่า ) ลักษณะแห่งที่สุดมีเท่าไร (ตอบว่า ) ลักษณะแห่งที่สุดมี ๔ คือ ความร่าเริง ( ย่อมมี ) ด้วยหมายถึงว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น มีความเป็นไปไม่ล่วงกันเลย (๑) ความร่าเริง ( ย่อมมี ) ด้วยหมาย ถึงว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเดียวกัน (๑) ความร่าเริง ( ย่อมมี ) ด้วยหมายถึงการยังความเพียรอันควรแก่ภาวะนั้นให้เป็นไป (๑) ความ ร่าเริง ( ย่อมมี ) ด้วยหมายถึงว่าฌานจิตนั้นเป็นอาเสวนะ (คล่อง) (๑) (๔ ข้อนี้จัดว่า ) เป็นความร่าเริง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน นี้เป็น ลักษณะ ๔ แห่งที่สุดเพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าปฐมฌานเป็นคุณมี ความงามในที่สุดด้วย ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ด้วย " ดังนี้ [อรรถาธิบายแห่งบาลีติวิธกัลยาณตา อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้ว่า "ในธรรม ๓ ประการนั้น อุปจารพร้อมทั้งสัมภาระ (องค์ประกอบ) ชื่อว่าปฏิปทาวิสุทธิ อัปปนา ชื่อว่า อุเปกฺขานุพฺรูหนา ปจจเวกขณา (ปัญญาอันพิจารณาความ สำเร็จกิจ ?) ชื่อว่า สมุปห์สนา" ดังนี้ แต่เพราะว่าในพระบาลี กล่าวไว้ว่า "จิตอันถึงความเป็นหนึ่งแล้ว ย่อมเป็นจิตแล่นไปสู่ ปฏิปทาวิสุทธิด้วย เป็นจิตอันอุเบกขาพอกพูนด้วย เป็นจิตอันญาณให้ ร่าเริงด้วย” ดังนี้ เพราะฉะนั้นปฏิปทาวิสุทธิ บัณฑิตพึงทราบโดย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More